ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
หน้าแรก
โครงการ 1
โครงการ 2
แบบสอบถามความพึงพอใจ
คู่มือการใช้งาน
วิเคราะห์แบบสอบถาม
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
หน้าแรก
เกี่ยวกับแผนก
บุคลากร
วิสัยทัศน์
เป้าหมาย
หลักสูตรการเรียน
หลักสูตรการเรียน
แผนการเรียน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
กระดานสนทนา
ผลงานนักเรียน
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
จำรหัสผ่าน
โครงการ
บทที่3
วิธีดำเนินงานโครงการ
การพัฒนาหาประสิทธิภาพระบบต้นแบบ smart home security
3.1 วีธีการดำเนินโครการ
การสร้าง
การพัฒนา
การสร้างการสร้างการสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพระบบต้นแบบ smart home security ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการดังแสดงในรูปที่ 3.1
รูปที่
3.1 วิธีการดำเนินงาน
รายละเอียดดังนี้
3.2 วิเคราะห์สภาพปัญหา
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงนวัตกรรม ผู้ดำเนินโครงการ ได้รวบรวมความต้องการของผู้ใช้งานโดยวิธีการสังเกตปัญหาจากผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านในการที่มีลืมปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไม่รู้ว่าลืมปิดปัญหาในการควบคุมการปิดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้และผู้ใช้งานทั่วไปต้องการที่จะควบคุมเครืองใช้ไฟฟ้าหรือการรับแจ้งเตือนจะมีปัญหาความยุ่งยากในการควบคุมเครืองใช้ไฟฟ้าหรือการรับแจ้งเตือน พบว่า
1) ระบบมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ดังแสดงในตารางที่ 3.1
ตารางที่
3.1
แสดงผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม
2) เปรียบเทียบแนวการทำงานเดิม ปัญหา แนวทางใหม่ที่เสนอ ดังแสดงในตารางที่ 3.2
ตารางที่ 3.2
แสดงการเปรียบเทียบการทำงานเดิมและแนวทางแก้ไขใหม่
3) ข้อกำหนดความต้องการของระบบต้นแบบ smart home security
ในการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรนวัตกรรม จำเป็นต้องทำการระบุความต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป ในส่วนนี้ขอเสนอเฉพาะข้อกำหนดความต้องการของระบบที่สำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) ความต้องการด้านฟังก์ชั่น (Functional requirements) หน้าที่หลักของระบบที่ต้องทำ สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยได้ดังนี้
1.1) ระบบแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ รายละเอียดระบบแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติดังนี้
1.1.1) แจ้งเตือนการลืมปิดหลอดไฟแบบอัตโนมัติ
1.1.2) แจ้งเตือนการลืมปิดน้ำแบบอัตโนมัติ
1.1.3) แจ้งเตือนการงัดแงะแบบอัตโนมัติ
1.1.4) แจ้งเตือนการกดกริ่งแบบอัตโนมัติ
1.2) ระบบควบคุมด้วยตัวเอง รายละเอียดระบบควบคุมการปลูกด้วยตัวเอง มีดังนี้
1.2.1) ผู้ใช้สามารถควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟ
1.2.2) ผู้ใช้สามารถควบคุมการเปิดปิดน้ำ
ตารางความต้องการของระบบ ดังตารางที่ 3.3
ตารางที่ 3.3
แสดงความต้องการของระบบ
3.3 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรม
3.3.1 สมาร์ทโฮม(smart home) สำหรับระบบสมาร์ทโฮม (Smart Home System) หรือ “ระบบบ้านอัจฉริยะ” เป็นการนำอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ มาทำงานร่วมกับซอพท์แวร์ บนโทรศัพท์มือถือ ทำให้เราสามารถควบคุมระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ ระบบรักษาความปลอดภัย ต่างๆ ภายในบ้านด้วยการกดปุ่มสั่งการผ่านสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือใช้ เสียงพูด (Voice Command) ช่วยในการเปิดปิดหรือควบคุมการทำงานของสิ่งของในบ้าน นอกจากจะช่วยให้การอยู่อาศัย และ การดูแลบ้านมีความสะดวกสบาย ทันสมัยมากขึ้น ยังช่วยเรื่องความปลอดภัย และช่วยประหยัดทั้งเวลา และค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
3.3.2 การประยุกต์ใช้งาน IOT (Internet of Things) คือ ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายเข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้มีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายและกว้างขวางมาก โดยรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ จำนวนมากเข้ากับโครงข่าย จะช่วยให้สามารถตรวจวัดข้อมูลที่หลากประเภทประเภทได้เป็นจำนวนมาก และช่วยให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และแสดงผลแบบกราฟฟิกเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ เมื่อนำระบบดังกล่าวผนวกเข้ากับระบบ Big Data จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน มีจำนวนมาก และ ทันเหตุการณ์ (real-time)
3.3.3 แอพพลิเคชั่น(Application) คือโปรแกรมที่พัฒนามาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับ Mobile (โมบาย) Teblet (แท็บเล็ต) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ซึ่งในแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีให้ดาวน์โหลดทั้งแบบฟรีและจ่ายเงิน ทั้งในด้านการศึกษา ด้านการสื่อสาร ด้านธุรกรรม ด้านบริการ หรือแม้แต่ด้านความบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
3.4 การออกแบบนวัตกรรม
โครงการสร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพระบบต้นแบบ smart home security ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) คอมพิวเตอร์
2) สมาร์ทโฟน
3) เมนบอร์ดชุดควบคุม Raspberry Pi
4) เมนบอร์ดชุดควบคุม Arduino esp32
5) โมดูลชุดควบคุมรีเลย์
6) สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
7) เซ็นเซอร์วัดตรวจจับความเคลื่อนไหว
8) เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่น แบบแผ่น
9) เซ็นเซอร์วัดแสง
10) เซ็นเซอร์วัดค่าปริมาณระดับน้ำ
11) โซลินอย
12) หลอดไฟอัจฉริยะ
13) กริ่งไร้สาย
14) โปรแกรม Arduino ide
15) โปรแกรม Android Studio
3.5 การทดสอบระบบ
การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบต้นแบบ smart home security ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวดังนี้
อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
1) คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
2) สมาร์ทโฟนคือโทรศัพท์มือถือที่มีฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานเหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนคือ การโทรออก การรับสาย รวมไปถึงการส่งและรับข้อความผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ แต่ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์มือถือมีความพิเศษมากขึ้นไปอีก จึงทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย 3G, 4G และ 5G รวมไปถึงการรองรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบ Wifi จึงทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานเว็บไซต์ต่างๆได้คล้ายกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
3) เมนบอร์ดชุดควบคุม Raspberry Pi บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเชื่อมต่อกับจอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด และเมาส์ได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม หรือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน Spreadsheet Word Processing ท่องอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล หรือเล่นเกมส์ อีกทั้งยังสามารถเล่นไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง (High-Definition) ได้อีกด้วย
4) เมนบอร์ดชุดควบคุม Arduino esp32 คือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) ชนิดหนึ่ง ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุม หรืออ่านค่าบางสิ่ง ถ้าให้เปรียบเทียบมันก็คือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั่นเอง แต่มีราคาที่ถูกกว่าคอมพิวเตอร์มาก
5) รีเลย์ ที่ใช้ในระบบควบคุมไฟฟ้าสามารถทํางานได้ ตั้งแต่แรงดัน 5 V จนถึง 220 V แบบแยกอิสระ Isolation Control Relay 4 ช่อง พร้อมไฟ LED แสดงสถานะเพื่อให้ ง่ายต่อการต่อแผงวงจรเข้ากับเมนต์บอร์ด โดยหลักการทํางานของลีเรย์ จะรับคําสั่งจากบอร์ด Raspberry Pi เพื่อสั่งให้ทํางานผ่านแอพพลิเคชั่นแล้วรีเลย์จะสั่งให้ไฟไหลผ่านเพื่อให้ทําการเปิด หรือ ปิด ตามคําสั่งได้
6) สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) คือ อุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันสูง เช่น 220VAC ไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำ โดย Switching Power Supply จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับหม้อแปลงแรงดันทั่วไป แต่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและมีขนาดเล็กกว่า
7) เซ็นเซอร์วัดตรวจจับความเคลื่อนไหว PIR Sensor เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่อาศัยหลักการที่ว่า สิ่งมีชีวิตจะปล่อยรังสีอินฟาเรดออกมา เซ็นเซอร์ตัวนี้จะตรวจจับรังสีอินฟาเรดที่เข้ามาตกกระทบบนตัวเซ็นเซอร์ และให้สัญญาณออกมาเป็นแบบดิจิตอล สามารถปรับความไว และหน่วงเวลาได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้แบบเกือกม้า
8) เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่น แบบแผ่น Sensor เปียโซอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับตรวจจับการสั่นสะเทือนไปยัง Arduino สัญญาณเป็นแบบ analog ป้อนไปยัง Arduino หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ ชนิดอื่นๆ หลักการทำงานจะใช้แผ่น Piezo เป็นการตรวจจับการสั่นสะเทือนเมื่อมีการสั่นสะเทือนจะเกิดกระแสไฟฟ้า จึงนำการสั่นสะเทือนนี้มาใช้ในการตรวจจับการสั่นสะเทือน
9) เซ็นเซอร์วัดแสง เซนเซอร์แสงเป็นอุปกรณ์พาสซีฟที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นเอาต์พุตสัญญาณไฟฟ้า เซนเซอร์แสงรู้จักในชื่ออุปกรณ์โฟโตอิเล็กทริกหรือโฟโตเซนเซอร์เนื่องจากการเปลี่ยนพลังงานแสง (โฟตอน) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (อิเล็กตรอน) โฟโตทรานซิสเตอร์ โฟโตรีซิสเตอร์ และโฟโตไดโอดคือเซนเซอร์วัดความเข้มแสงทั่วไป
โฟโตอิเล็กทริกเซนเซอร์จะใช้ลำแสงเพื่อตรวจจับการมีอยู่ของวัตถุ โดยจะเปล่งแสง (ชนิดมองเห็นได้หรืออินฟราเรด) จากส่วนเปล่งแสง โฟโตอิเล็กทริกเซนเซอร์ชนิดสะท้อนแสงจะถูกใช้เพื่อตรวจจับลำแสงที่สะท้อนจากชิ้นงาน ลำแสงจะถูกเปล่งออกมาจากส่วนเปล่งแสงจะรับโดยส่วนรับแสง ทั้งสองส่วนนี้จะอยู่ในตัวเรือนเดียวกัน เซนเซฮร์จะได้รับแสงที่สะท้อนจากชิ้นงาน
ส่วนโฟโตทรานซิสเตอร์จะใช้ระดับของแสงที่ตรวจจับได้เพื่อตรวจสอบว่ามีกระแสไหลผ่านวงจรเท่าใด หากเซนเซฮร์อยู่ในห้องมืด จะมีกระแสไหลผ่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากตรวจจับแสงสว่างได้ กระแสไหลผ่านจะมากขึ้น โฟโตรีซิสเตอร์ถูกสร้างขึ้นจากแคดเมียมซัลไฟด์ ซึ่งมีความต้านทานสูงสุดเมื่อเซนเซอร์อยู่ในที่มืด เมื่อโฟโตรีซิสเตอร์ได้รับแสง ความต้านทานจะลดลงตามความเข้มแสง เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรและปรับสมดุลด้วยโพเทนชิโอมิเตอร์ ความเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสงจะแสดงเป็นแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง เซนเซอร์นี้มีความเรียบง่าย น่าเชื่อถือ และราคาถูก รวมทั้งมีการใช้งานอย่างกว้างขวางเพื่อใช้วัดความเข้มแสง
10) เซ็นเซอร์วัดค่าปริมาณระดับน้ำ โดยเซ็นเซอร์ที่ผู้วิจัยนำมาใช้นี้คือ Float Switch หรือ สวิทซ์ลูกลอย คือ เซ็นเซอร์ที่ใช้วัดระดับของน้ำในภาชนะ โดยแบบสายเคเบิ้ล หรือ Cable Type Float Switch จะเป็นสวิทช์ลูกลอยแบบสายเคเบิ้ลที่ราคาประหยัด ออกแบบมาใช้สำหรับหย่อน หรือ จุ่มลงในบ่อหรือถัง น้ำ หรือ น้ำเสีย หรือ ของเหลวอื่นๆ เพื่อใช้ในการเตือน หรือ ควบคุมระดับของเหลวนั้นๆ ร่วมกับรีเลย์ หรือ ส่งสัญญาณที่เป็นลักษณะของสวิทช์ไปเข้าระบบ PLC เพื่อควบคุมปั๊ม ในปัจจุบัน Nivelco ได้ออกแบบ Float Switch ที่มีลูกลอยที่ถูกออกแบบมาพิเศษ ซึ่งจะมีระบบป้องกันเมื่อน้ำกระเพื่อม โดยที่ลูกลอยจะยังไม่ทำงานจนกว่าจะลอยค้างทำมุม 45 องศา ซึ่งการกำหนดระดับที่จะให้สวิทช์ทำงาน จะใช้การเลื่อนตำแหน่งของตุ้มถ่วง (counterweight) ที่สวมอยู่ที่สายเคเบิ้ลซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน
11) โซลินอย อุปกรณ์ควบคุมการไหลของของไหล เช่น น้ำ อากาศ หรือก๊าชต่างๆ เป็นต้น ภายในวาล์วชนิดนี้เพิ่มส่วนประกอบขึ้นมาคือ ขดลวดพันแม่เหล็ก เป็นตัวกลางที่ใช้ร่วมกับพลังงานไฟฟ้า
12) หลอดไฟอัจฉริยะ (Smart Light Bulbs) เป็นหลอดไฟ LED สมัยใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์ แสงสว่างอัจฉริยะ (Smart Lighting) ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือการใช้พลังงานให้คุ้มค่า และประหยัดมากที่สุด โดย หลอดไฟอัจฉริยะ (Smart Light Bulbs) คือ หลอดไฟที่สามารถควบคุมระยะไกลโดยที่อยู่ที่ไหนก็ได้ สามารถปรับใช้ให้สอดคล้องกับช่วงเวลานั้น ๆ ได้ ทั้งตั้งเวลา เปิด-ปิด ไฟแบบอัตโนมัติ ปรับลดแสงสว่างตามความต้องการ สร้างบรรยากาศภายในบ้านด้วยแสงไฟสีต่าง ๆ เปิดเมื่อมืดปิดเมื่อสว่าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพมากที่สุดที่สุด
13) กริ่งไร้สาย ริ่งไร้สายนั้นจะใช้ในกรณีที่คุณต้องการเปลี่ยนระบบกริ่งหน้าบ้านที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจจะเสียหาย หรือว่าใช้งานไม่ได้แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องการที่จะใช้งานแบบเดิม เนื่องจากจะต้องมีการเดินสายใหม่ และคุณรู้สึกว่าการเดินสายใหม่นั้นยุ่งยากและดูเกะกะไม่สวยงาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคอนโดหรือบ้านเช่าที่คุณนั้นไม่สามารถเดินสายได้ด้วยตัวเองแล้วละก็ ยิ่งเป็นปัญหาในการใช้งาน ดังนั้นระบบกริ่งไร้สายจึงตอบโจทย์ในจุดนี้
14) โปรแกรม Arduino ideโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการเขียนซอฟต์แวร์สำหรับแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สนี้ แพลตฟอร์มArduino เป็นแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมที่ออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานทั่วไป ได้แก่ หุ่นยนต์เทคโนโลยีการปรับปรุงบ้านคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้และแอปพลิเคชันอิเล็กทรอนิกส์ที่แปลกใหม่ สิ่งประดิษฐ์Arduino ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาโดยใช้Arduino IDE
15) โปรแกรม Android Studio เป็นซอฟแวร์สำหรับการทำแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยแบบเนทีฟ (Native) คือเป็นการทำงานที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอย ทำให้มีการทำงานที่รวดเร็วกว่าแบบไฮบริด Hybrid ที่จะมีการทำงานที่ช้ากว่า และมีการดึงประสิทธิภาพของเครื่องออกมาได้ทั่งหมด ทั้งเซ็นเซอร์และระบบกราฟฟิค การเขียนจะใช้ภาษา Java หรือ Kotlin โดยภาพา Java จะเป็นภาษาหลัก ส่วน Kotlin จะเป็นภาษาที่ทาง Google กำลังนำมาใช้ใหม่ เพื่อทดแทนข้อด้อยของ Java ในบางเรื่อง
3.6 การออกแบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม
3.6.1 แผนผังการทำงานระบบต้นแบบ smart home security ดังรูปที่ 3.2
รูปที่ 3.2
แผนผังการทำงานระบบต้นแบบ smart home security
3.6.2 แผนภาพบริบทระบบต้นแบบ smart home security ดังรูปที่ 3.3
รูปที่ 3.3
แผนภาพบริบทระบบต้นแบบ smart home security
3.6.3 แผนภาพบริบทระบบต้นแบบ smart home security ดังรูปที่ 3.4
รูปที่
3.4
แสดงกระแสข้อมูล ( DFD ) ระดับ 1 ระบบต้นแบบ smart home security
3.7 การออกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม
3.7.1 หน้าแสดงการแจ้งเตือนบนแอพพลิเคชั่น ดังรูปที่ 3.5
รูปที่
3.5
หน้าแสดงการแจ้งเตือนต่างๆ
3.7.2 หน้าแสดงการแจ้งเตือนนอกแอพพลิเคชั่น ดังรูปที่ 3.6
รูปที่
3.6
หน้าแสดงการแจ้งเตือนต่างๆนอกแอพพลิเคชั่น
3.7.3 หน้าควบคุมอุปกรณ์บนแอพพลิเคชั่น ดังรูปที่ 3.7
รูปที่
3.7
หน้าแสดงข้อมูลฟังก์ชั่น
3.7.4 หน้าของการออกแบบชิ้นงาน ดังรูปที่ 3.8
รูปที่
3.8
การออกแบบชิ้นงานระบบต้นแบบ smart home security
3.8 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง<
เป็นขั้นตอนหลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นกระบวนการค้นหาข้อผิดพลาดที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดี หลังจากการเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบต้นแบบ smart home security โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
3.8.1 การทดสอบการดูข้อมูลค่าสถานะต่างๆ
3.8.2 การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์
3.8.3 การทดสอบความสมบูรณ์ของแอพพลิเคชั่น
โดยผู้วิจัยได้กำหนดหัวข้อการทดสอบ ดังนี้
1) การทดสอบระบบการแจ้งเตือนลืมปิดหลอดไฟ
2) การทดสอบระบบการแจ้งเตือนลืมปิดน้ำ
3) การทดสอบระบบการแจ้งเตือนการกด-กริ่ง
4) การทดสอบระบบการแจ้งเตือนการเกิดการงัดแงะ
5) การทดสอบระบบการควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟ
6) การทดสอบระบบการควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ
3.9 การเก็บรวบรวมข้อมูล
หลังจากได้ทำการทดลองระบบต้นแบบ smart home security มาแล้วนั้น สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขดังนี้
3.9.1 การจัดเก็บสายไฟที่ยังไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร
3.9.2 แอพพลิเคชั่นยังมีปัญหากับการเชื่อมต่ออุปกรณ์
3.9.3 อุปกรณ์บางตัวมีการยึดติดที่ไม่สมบูรณ์
3.10 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้งานระบบต้นแบบ smart home security มีขั้นตอนอธิบายตาม แผนผัง flowchart ดังนี้ดังรูปที่ 3.9
รูปที่
3.9
แผนผังการใช้นวัตกรรม
จากรูปที่ 3.9 อธิบายได้ดังนี้
1) คัดเลือกคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 5 คน
2) ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายที่ 1
3) ปรับปรุงแก้ไขระบบต้นแบบ smart home security ตามผลการทดลอง
4) บันทึกผลการทดสอบระบบต้นแบบ smart home security ลงแบบประเมินประสิทธิภาพ
5) จัดทำรายงานผลการทดสอบระบบต้นแบบ smart home security
6) ใช้จริงระบบต้นแบบ smart home security กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายที่ 2
7) ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบต้นแบบ smart home security