ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
2.จัดทำโดย

1.นายกิตติพงษ์ อาจหาญ

2.นายกิติกันต์ แดงชนะ

3.อีเมลล์ kao_za@hotmail.com , boat_kitikan@hotmail.co.th
4.บทคัดย่อ

        โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเว็บศิษย์เก่า เรื่อง การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
        การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้เว็บไซต์ศิษย์เก่า เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้เว็บไซต์ศิษย์เก่า
        ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าเว็บไซต์ศิษย์เก่า ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.45

5.บทนำ

        ในปัจจุบันวิชาชีพเทคนิคคอมพิวเตอร์กำลังเพิ่มความต้องการในตลาดแรงงานในประเทศ
ไทยสูงมากขึ้นทุกปี ทำให้แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ มีจำนวนนักศึกษาในแผนกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยโปรแกรมระบบซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในแผนกขึ้น เนื่องจากความรวดเร็วและง่ายในการบริหารจัดการระบบถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเป็นอย่างยิ่งโดยทั่วไปนั้นผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ด้านการออกแบบกราฟิก ด้านภาษา HTML,PHPและด้านการเขียนโปรแกรมทำให้ในการสร้างเว็บไซต์นั้นค่อนข้างใช้ระยะเวลาและความรู้พอสมควรโปรแกรม Dreamweaver จึงเป็นเป็นโปรแกรมที่มาช่วยในการสร้าง  มีความสามารถในการใช้สร้าง ออกแบบ เขียนโค้ด เว็บเพจ บริหารจัดการเว็บไซต์และเว็บแอพพลิเคชั่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        จากการศึกษาการสร้างระบบศิษย์เก่า แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เป็นการรวบรวม นักศึกษาที่จบออกไป ให้รุ่นน้องในแผนกคอมพิวเตอร์ได้ทราบ จึงเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการเป็นอย่างมากและเนื่องจากจำวนนักเรียนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณ และจำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา รวมศิษย์เก่าและทำให้รุ่นน้องได้รู้จักรุ่นพี่และยังสามารถสนทนากันได้ และจัดการข้อมูลนักศึกษาเก่าที่สำเร็จการศึกษา และข้อมูลนักศึกษาที่จบไป

        ดังนั้นจึงทำให้คณะผู้จัดทำเกิดแนวคิดในการสร้างระบบซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาศิษย์เก่าที่จบออกไปเพื่อลดภาระและเวลาที่ใช้ในการแสวงหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดระบบศิษย์เก่าให้กับนักศึกษาภายในแผนกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยตัวระบบนี้จะมีหน้าที่ในการเชื่อมฐานข้อมูล รูปภาพ และครูผู้สอน เพื่ออำนวยความสะดวกในระบบศิษย์เก่าให้กับ ทั้งครูและนักเรียนและยังสามารถ แสดงข้อมูลศิษย์เก่า แผนกคอมพิวเตอร์ ให้กับนักเรียน

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพื่อพัฒนาและศึกษา ระบบศิษย์เก่าแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

2) เพื่อทดสอบและหาประสิทธิภาพ ระบบศิษย์เก่าแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์

7.ขอบเขตของการวิจัย

             1)ด้านเนื้อหา

                 (1) โปรแกรม Microsoft visual Studio

                 (2) โปรแกรม  Dreamweaver cs6

                 (3) โปรแกรม XAMPP

                 (4) โปรแกรมฐานข้อมูล MySQL

             2)ด้านทรัพยากร

                 (1) โปรแกรมระบบศิษย์เก่า สามารถแสดงรูปภาพ ข้อมูลข่าวสารได้

                 (2) โปรแกรมระบบศิษย์เก่า สามารถควบคุมตั้งค่าเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้

                 (3) ผู้ดูและระบบและสมาชิก สามารถควบคุมตั้งค่าเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้ 

             3) ด้านระยะเวลาและกลุ่มตัวอย่าง

                 (1) ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2560

                 (2) กลุ่มตัวอย่าง 20 คน

8.สมมติฐาน

ระบบบริหารจัดการศิษย์เก่าสามารถช่วยในการลงรายละเอียดและข้อมูลของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.วิธีดำเนินการวิจัย

1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบเว็บไซต์การออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา PHP ร่วมกับ MySQL
2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของเว็บไซต์และกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3 ) การสร้างและออกแบบ เว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
6 ) สอนการใช้งานเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
7 ) นักศึกษาทดลองใช้เว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง

10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบ Intro Page เพื่อใช้แสดงหน้าเว็ปไซต์ สำหรับแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 1

     ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3.  กำหนดขอบเขตของโปรแกรม และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม
4.  ออกแบบและสร้างเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า

แผนผังการทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
ดังแสดงในภาพที่ 2

                                   ภาพที่ 2 แผนผังการทำงาน

การทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ดังแสดงในภาพที่ 3

                                    ภาพที่ 3 การทำงานของโปรแกรม

5. เว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
    (1) สร้างหน้า login และระบบหลังบ้านสำหรับ admin ดังแสดงในภาพที่ 4 ถึงภาพที่ 5

                
                            ภาพที่ 4 สร้างหน้า login และระบบหลังบ้านสำหรับ admin และ user
               
                         ภาพที่ 5 สร้างหน้า ยินดีต้อนรับและระบบหลังบ้านสำหรับ user

    (2) สร้างระบบฐานข้อมูล ดังแสดงในภาพที่ 3-9 ถึงภาพที่ 3-10
                  
                     ภาพที่ 6 สร้างระบบฐานข้อมูลของ Admin
               
                         ภาพที่ 7สร้างระบบฐานข้อมูลของ User

    (3) ทดสอบการใช้หน้า login ดังแสดงในภาพที่ 8
                                                     
                                              ภาพที่ 8 ทดสอบการใช้หน้า login 

    (4) ทดลองสมัครสมาชิก ดังแสดงในภาพที่ 9
                 
                         ภาพที่ 9 ทดลองสมัครสมาชิก

    (5) แสดงภาพเว็บไซต์ศิษย์เก่า ตามที่สมัครสมาชิกไว้ ดังแสดงในภาพที่ 10
                 
                         ภาพที่ 10 แสดงภาพข้อมูลการสมัครสมาชิก ตามที่กำหนด
6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                            แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  
แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
      ตารางที่ 
2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
               ข้อ 1  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 2  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 3  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 4  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 5  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333
                       มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้
               ข้อ 6  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 7  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 8  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 9  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                        จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                        ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                        มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
               ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                        จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                        ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                        มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินความพึงพอใจการพัฒนาเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
        แบบประเมินผลความพึงพอใจการพัฒนาเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อเว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
          ตอนที่  1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
          ตอนที่  2 ความสะดวกในการใช้งาน เว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า
ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
          ตอนที่  3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ                                                     
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามโปรดทำเครื่องหมาย ü ลงใน £ ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน                                                                                               
1.  เพศ
                              ชาย           หญิง
2.  อายุ
                              ต่ำกว่า 20 ปี  21-30 ปี 31-40 ปี41-50 ปี สูงกว่า 50 ปี
3.  อาชีพของท่าน
                              ไม่มีอาชีพ     เกษตรกร    ข้าราชการ     นักเรียน/นักศึกษา 
 อื่น ๆ ระบุ..................................
ตอนที่  2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เว็บไซต์ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง
ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน
ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป
 
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                             5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                             4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                             3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                             2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                             1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด
ตารางที่ 3  แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ
.....................................................................................................................

11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล        โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

ภาพที่ 11 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน


ภาพที่ 12 การใช้งาน ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
 
ภาพที่ 13 การใช้งาน ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
12.วิเคราะห์ข้อมูล

1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

13.ผลของการวิจัย        การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้โปรแกรมระบบฐานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ศิษย์เก่าและสถานประกอบการแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รวม 7 ตอน ดังนี้
       ตอนที่ 1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
       ตอนที่ 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
       ตอนที่ 3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
       ตอนที่ 4.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน
       ตอนที่ 5.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน
       ตอนที่ 6.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านคุณค่า
       ตอนที่ 7.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

       จากตารางที่4.1 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรมสรุปได้ว่า การแสดงเนื้อหาประวัติศิษย์เก่า สามารถแสดงเนื้อหาประวัติศิษย์เก่า ตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้ การแสดงในส่วนของข้อมูลข่าวสาร สามารถแสดงในส่วนของข้อมูลข่าวสาร ตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้ แก้ไขข้อมูล สามารถแก้ไขข้อมูลที่กำหนดได้ ตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้ การโพสต์ข้อความพูดคุยแสดงความคิดเห็น สามารถโพสต์ข้อความพูดคุยแสดงความคิดเห็น ตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้

ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

       จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ (x?= 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของเว็บไซต์ สามารถออกแบบหน้าเว็บได้ตามที่ต้องการ มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x? = 4.65) และด้านความสามารถของเว็บไซต์ สามารถแสดงส่วนของประวัติศิษย์เก่าได้ มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 4.51) 

ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน

       จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ (x?= 4.45) และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของเว็บไซต์ สามารถออกแบบหน้าเว็บได้ตามที่ต้องการ มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x? = 4.65) และด้านความสามารถของเว็บไซต์ สามารถแสดงส่วนของประวัติศิษย์เก่าได้ มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 4.51) 

ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน?
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน

       จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านการ ทำงานตามฟังก์ชั่นการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ (x?= 4.27) และเมื่อ พิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจด้านการทำงานตามฟังก์ชั่นการทำงาน ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า มีค่าเฉลี่ย มาก คือ (x? = 4.23) และด้าน เว็บไซต์ที่สร้างมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริง มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 4.05)

ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน?
ตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน

       จากตารางที่ 8 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านความยากง่ายต่อการใช้การเว็บไซต์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก คือ (x?= 4.11) และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีอักษรบนเว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x?=4.4) และด้านความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 4.02) 

ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านคุณค่า?งาน?
ตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านคุณค่า

       จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านคุณค่าของเว็บไซต์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก คือ (x?= 4.06) และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดวามสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x?=4.11) และด้านเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 4.03) 

ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน?
ตารางที่ 10 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน

       จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ ระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า ด้านภาพรวมของเว็บไซต์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก คือ (x?= 3.87) และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยด้านการใช้ระบบ ด้านด้านการใช้ระบบ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x?=4.04) และด้านด้านการใช้ระบบ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ (x?= 3.98) 
 
14.การอภิปรายผล

         จากผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการเว็บศิษย์เก่า สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ในการติดต่อ พูดคุยหรือการดูข้อมูลข่าวสารศิษย์เก่าในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดเด่นของโปรแกรมคือ โปรแกรมสามารถใช้งานได้ง่าย และ ในส่วนการแสดงผลในด้านเนื้อหาจะมีฟังก์ชันเมนูที่ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริงและการติดต่อ พูดคุยหรือการดูข้อมูลข่าวสารศิษย์เก่าในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของเว็บไซต์ได้ คือ ในส่วนของการโพสต์กระทู้ข้อความหรือพูดคุยสนทนามีความซับซ้อนอยู่พอสมควร
          นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของเว็บไซต์ยังมีในด้านการใช้ระบบ ด้านความง่ายต่อการใช้งานเว็บไซต์  ด้านการใช้ระบบ ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านการใช้ระบบ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะโปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของโปรแกรม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลักอีกด้วย

15.ข้อเสนอแนะ

1) ควรศึกษาในด้านการใช้งานเว็บไซต์ระบบการทำงานเบื้องต้นก่อนใช้งาน

2) ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำคู่มือการใช้งาน

3) ควรจัดรูปแบบเว็บไซต์ให้มีความดึงดูดน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

4) ในการออกแบบโปรแกรมควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่

16.บรรณานุกรม

การใช้งานของ Adobe Photoshop.2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://webquest.kanokrat.info/?page_id=1245
การใช้งานคำสั่งของเว็บไซต์. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.hellomyweb.com/course/html/
บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็ปแอปพลิเคชั่น PHP ร่วมกับ MySQL และDreamweaver.  
กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประวัติความเป็นมาของ Adobe Photoshop. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://bombzii10.blogspot.com/2016/02/adobe-photoshop.html ประวัติphoto shop 1
ประวัติAdobe Dreamweaver. 2559.[ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/47/page/1_introduce.html

17.ประวัติผู้จัดทำ                       
ชื่อ-สกุล               นายกิตติพงษ์ อาจหาญ
เกิดเมื่อวันที่         9 มิถุนายน 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน         217 หมู่10 ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่ 54000
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                          สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              086-3910528
อีเมล์                   kittiphong316@gmail.com

                     
ชื่อ-สกุล               นายกิติกันต์ แดงชนะ
เกิดเมื่อวันที่         22 มีนาคม 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน         111 หมู่6 อ.เมือง จ.แพร่ 54000
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                          สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              094-605-7701
อีเมล์                   boat_kitikan@hotmail.co.th
18.ลิงค์ยูทูป