ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การสร้างระบบทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
2.จัดทำโดย

นาย อภิวิชญ์      อินทราวุธ      รหัส 5931280007
นาย จักรกฤษ     ภูต๋า             รหัส 5931280001

3.อีเมลล์ jakkrid.jkp@gmail.com
4.บทคัดย่อ

ชื่อ                               :  นายอภิวิชญ์     อินทราวุธ, นายจักรกฤษ  ภูต๋า

ชื่อวิทยานิพนธ์                :  การสร้างระบบทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด

สาขาวิชา                       :  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

สาขางาน                       :  คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์

ที่ปรึกษา                       :  อาจารย์ อภิชาต มากมาย

ปีการศึกษา                    :  2560

โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบและสร้างโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด         
          การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)

สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน โดยให้ทดลองใช้โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบ

สแกนบาร์โค้ดสร้างขึ้นเสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม

ทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
          ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดที่สร้างขึ้น

ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.75

5.บทนำ

           ปัจจุบันการบันทึกข้อมูลครุภัณฑ์ต่างๆนั้นได้มีการใช้การจดบันทึกซึ่งมีการแบ่งเป็นหมวดหมู่และยังมี

จำนวนค่อนข้างมากซึ่งต้องมีการจดบันทึกเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจดบันทึกอาจมีข้อจำกัดหลายๆอย่าง เช่น เวลา

ในการจดบันทึกข้อมูลของครุภัณฑ์,การค้นหาข้อมูลของครุภัณฑ์,พื้นที่การจัดเก็บ,อายุการใช้งานของกระดาษซึ่ง

อาจเกิดการเสียหายจากหนู แมลง หรือเหตูการณ์ต่างๆได้
           จากการสักเกตผู้จัดทำจึงได้มองเห็นปัญหานี้และได้ไปสืบค้นว่ามีโปรแกรมจำพวกนี้อยู่แล้ว ซึ่งใช้ภาษา

PHP กับ SQL เขียน ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้เลือก odoo9 ในการออกแบบและพัฒนา ทะเบียนครุภัณฑ์ เนื่องจาก จุด

เด่นของระบบ odoo คือความยืดหยุ่น  จากการที่เป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส ที่มีฟังก์ชันให้ใช้ในการปรับ

แต่งให้เข้ากับลักษณะงานของธุรกิจแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น ซื้อมาขายไป,การผลิต งานบริการ การเช่าซื้อ

ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถติดตั้งส่วนเสริม (Module) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อ การขาย บัญชี และอีกหลากหลาย ที่มี

ผู้พัฒนาอิสระได้พัฒนาขึ้นมาอย่างมากมายในแต่ละเดือน คุณสมบัติ : มีโมดูลการทำงานที่ครอบคลุมการดำเนิน

การทางธุรกิจพื้นฐานต่างๆ และสามารถปรับแต่งโมดูลเหล่านั้นได้ตามความเหมาะสม เทคโนโลยี : ใช้

เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนา เช่น XML-RPC บนพื้นฐานของ MVC, Web base, SaaS และออกรุ่นซอฟแวร์

ใหม่ๆอยู่สม่ำเสมอ และ OpenERP นั้นเป็น Open source ที่ยอมให้มีการเผยแพร่และนำไปพัฒนาต่อยอดได้

อย่างถูกกฏหมาย ทำให้เราสามารถพัฒนาโมดูลให้เหมาะสมกับองค์กรเองได้ และ นำมาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์

บาร์โค้ด เพื่อค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก้ผู้ใช้การในการค้นหาแก้ไขและตรวจสอบ

ครุภัณฑ์ได้ยังสามารถน้ำไปต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตอีกด้วย
           ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอโครงการ การสร้างระบบโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์นำมาใช้งานใน

แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการค้นหา ปรับปรุง และแก้ไข และยังสามรถ

ตรวจสอบการซ่อมของครุภัณฑ์นั้นได้
 

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           6.1.เพื่อสร้างโปรแกรมระบบทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
           6.2.เพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรมระบบทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด

7.ขอบเขตของการวิจัย

            7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ   นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์

สาขา วิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน
            7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา  
                    7.2.1 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลครุภัณฑ์ได้
                    7.2.2 สามารถใช้ปืน barcode สแกนเพื่อค้นหาครุภัณฑ์ได้
                    7.2.3 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลผู้รับผิดชอบได้
                    7.2.4 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลการซ่อม
            7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน   ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2560

8.สมมติฐาน

            8.1 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลครุภัณฑ์ได้
            8.2 สามารถใช้ปืน barcode สแกนเพื่อค้นหาครุภัณฑ์ได้
            8.3 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลผู้รับผิดชอบได้
            8.4 สามารถเพิ่ม,ลบ,แก้ไข ข้อมูลการซ่อม

9.วิธีดำเนินการวิจัย

            9.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ 
            9.2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของ linux และ postgresql
            9.3 การสร้างและออกแบบ โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์
            9.4 ทดสอบหาประสิทธิภาพของโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด มีการใช้แบบประเมิo

ประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
            9.5 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขา

วิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
            9.6.สอนการใช้งาน โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด ให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
            9.7.นักศึกษาทดลองใช้  โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

            นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน

10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ 10.1 การสร้างโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดมีขั้นตอนในการออกแบบดังแสดงในรูปที่ 1

                                รูปที่ 1 Flow chart แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน
1) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม
2) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา
4) หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
 
10.2 แผนผังการทำงานของการสร้างโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดดังแสดงในรูปที่ 2


                                 รูปที่ 2 Flow chart แผนผังการทำงาน
10.3 การทำงานของการสร้างโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดดังแสดงในรูปที่ 3

                                 รูปที่ 3 แสดงการทำงานของโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
10.4 การทดสอบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น
       1) การทดสอบโดยการลองใส่ข้อมูล ดังแสดงในรูปที่ 4-6

                                รูปที่ 4 การทดสอบโดยการใส่ข้อมูลหน้าจัดการผู้รับผิดชอบ


                                รูปที่ 5 การทดสอบโดยการใส่ข้อมูลหน้าจัดการข้อมูลครุภัณฑ์


                                รูปที่ 6 การทดสอบโดยการใส่ข้อมูลหน้าข้อมูลการซ่อม
10.5 ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
       แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ
                  
ตารางที่ 2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 10   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินผลความพึงพอใจในการพัฒนาและประสิทธิภาพโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
...............................................................................................................................................
            แบบประเมินผลความพึงพอใจในการ สร้างโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการทดลองทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา
ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่  ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในการปรับปรุงการทำงานของตัวอุปกรณ์
คำชี้แจงแบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
            ตอนที่  1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
            ตอนที่  2 ด้านการใช้งาน โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด มีทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                          ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                          ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
ตอนที่  3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ                                                       
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม


ตอนที่  2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในใช้ระบบ โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
                          ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
                          ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย P ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                                    5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                                    4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                                    3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                                    2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                                    1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด
ตารางที่ ก.1 แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด


ข้อเสนอแนะ
       ...........................................................................................................................................
                                                                                             

 
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล             โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวส.)สาขางานเทคนิค คอมพิวเตอร์
สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา
เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็น ขั้นตอนได้ดังภาพที่ 7

                                 รูปที่ 7  ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน 



                                รูปที่ 8 ให้นักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ทดลองใช้งาน-1


                                รูปที่ 9 ให้นักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ทดลองใช้งาน-2
 
12.วิเคราะห์ข้อมูล

1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
     IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
     คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
     N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
         แทน คะแนนเฉลี่ย

    แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

      N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
     S.D       คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

     คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

      คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
     N           คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

13.ผลของการวิจัย
 การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้    โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด
มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตาวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูล
โดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราห์ข้อมูล รวม 7 ตอนดังนี้
        ตอนที่ 1.แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม  
        ตอนที่ 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม  
        ตอนที่ 3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม         
        ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน         
        ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม         
        ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป         
        ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน         
                      สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล  
                       P แทน ร้อยละ  
                       x̅ แทน ค่าเฉลี่ย  
                       S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
   
 
        ผลการวิเคราะห์ข้อมูล       
  ตอนที่ 1.แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม



              จากตารางที่4.1 พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรมสรุปได้ว่า
การบันทึกข้อมูลผู้รับผิดชอบ สามราถบันทึกได้ ดังภาพที่ 10

                                รูปที่ 10  แสดงข้อมูลผู้รับผิดชอบ

 การบันทึกข้อมูลครุภัณฑ์ ดังภาพที่ 11
 
                                รูปที่ 11  แสดงข้อมูลครุภัณฑ์

การบันทึกข้อมูลการซ่อม ดังภาพที่ 12

                                รูปที่ 12 แสดงข้อมูลการซ่อม

การเก็บบันทึกข้อมูล ใช้ postgresql ในการบันทึกข้อมูล ดังภาพที่ 13

                                รูปที่ 13  ฐานข้อมูล postgresql

การปริ้นบาร์โค้ดเพื่อนำไปติดบนครุภัณฑ์ ดังภาพที่ 14


                                รูปที่ 14 การปริ้นบาร์โค้ด
            ตอนที่ 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

              จากตารางตอนที่ 4.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 17 คน คิดเป็น 85% เป็น
เพศหญิง 3 คน คิดเป็น 15%มีอายุส่วนใหญ่ 20 ปีคิดเป็น 100% และอาชีพนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็น 100%
            ตอนที่ 3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม


              จาตาราง 4.3  พบว่า ความพึงพอใจ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมของนักเรียน
นักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
       ด้านที่ 1 ด้านความสามารถของโปรแกรมบันทึกและค้นหาข้อมูลได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
ที่สุด (x̅ = 4.95) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความ
สามารถของโปรแกรมส่วนแสดงเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅= 4.90) และมีความสามารถใช้บาร์โค้ดในการหา
ครุภัณฑ์ได้ง่ายค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅= 4.90) 
            ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน



              จากตาราง 4.4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดของ
นักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านที่ 2 ด้านการใช้คำสั่งต่าง ๆ ส่วนของเมนูมีความสะดวกโดยภาพ
รวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̅ = 4.81) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ใน
ระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความความเร็วในการประมวลผลของโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ =
4.95) และความพึงพอใจของความความน่าเชื่อถือของโปรแกรม ค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.85) และความพึง
พอใจของหน้าต่างเขาใช้งานสามารถใช้งานง่าย ค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.95)
            ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม



              จากตาราง 4.5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดของ
นักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านที่ 3 ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีอักษรบน
เว็บไซต์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̅ =4.95) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุก
รายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมายของโปรแกรม มีค่า
เฉลี่ยมากที่สุด (x̅ = 4.95) และมีความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบและเมนูต่าง ๆ ของ
โปรแกรมได้ค่าเฉลี่ยมากหที่สุด (x̅ = 4.95) 
            ตอนที่ 6 ผลการวิเคราห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่าโดยสรุป   


              จากตารางที่ 4.6 ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด ด้านการใช้
เว็บไซต์ด้านคุณค่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยคือ(x̅=4.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินใน
แต่ละ ด้าน พบว่า ด้านความสะดวกในการบันทึกข้อมูล มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x̅=4.27) 
            ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน


              จากตารางที่ 4.7 ความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด โดยภาพรวม
ทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยคือ(x̅=4.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละ ด้าน พบ
ว่าด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ (x̅=4.96)และด้านการทำงานตามฟังก์ชันการ
ทำงานมีค่าเฉลี่ย ต่า ที่สุดคือ(x̅=4.88) 
14.การอภิปรายผล

                  จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ดพบว่าโปรแกรม

ทะเบียนครุภัณฑ์แบบสแกนบาร์โค้ด สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ในการหาทะเบียนครุภัณฑ์

ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดเด่นของโปรแกรมคือ โปรแกรมสามารถใช้งานได้ง่าย และ ในส่วนการแสดงผล

ในด้านเนื้อหาจะมีฟังก์ชันเมนูที่ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งนี้โปรแกรมที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริง

และการหาทะเบียนครุภัณฑ์ในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่ม

ประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมได้ คือ ในส่วนของการเพิ่มข้อมูลหรือเพิ่ม

รหัสต่างๆ มีความซับซ้อนอยู่พอประมาณ
                  นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ด้านการ

ทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะ

โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของโปรแกรม

ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบ

ทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก

15.ข้อเสนอแนะ

            1)  ควรศึกษาในด้านการใช้งานโปรแกรมระบบนำทางเบื้องต้นก่อนใช้งาน
            2)  ควรศึกษากลุ่มคำสั่งต่างๆของการใช้โปรแกรมเบื้องต้นก่อนใช้งาน

            3)  ควรแก้ไขในการทำระบบแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ดู

            4)  ในการออกแบบโปรแกรมควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่

16.บรรณานุกรม

แดงต้อย คนธรรพ์. โครงการ(Project) พิมพ์ครั้งที่ 1. นนท์บุรี: บริษัทศูนย์หนังสือ เมืองไทย จำกัด,2557

ความหมายของครุภัณฑ์. 2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/wichakheruxngchisanakngan/kar-brihar-sanakngan/dk

ภาษา python 2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไพทอน

odoo 2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:

https://odoo-guide.com/th_TH/blog/odoo-guide-by-itaas-1/post/erp-265

ความหมายของ centos  2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:

http://www.softmelt.com/article.php?id=69

ภาษา xml. 2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/เอ็กซ์เอ็มแอล

โปรแกรม putty 2560. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา:

https://software.thaiware.com/10912-PuTTY-Telnet-Download.html
    

17.ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ-สกุล
               นายอภิวิชญ์ อินทราวุธ
เกิดเมื่อวันที่         5 กรกฎาคม2541
ที่อยู่ปัจจุบัน         4 หมู่7 อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54310
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                          สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              091-0788988
อีเมล์                   kaiou_009@hotmail.com


ชื่อ-สกุล              นายจักรกฤษ ภูต๋า
เกิดเมื่อวันที่         20 มีนาคม 2541
ที่อยู่ปัจจุบัน         2/4 หมู่2 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                          สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              0629530452
อีเมล์                   ่jakkrid.jkp@gmail.com
 
18.ลิงค์ยูทูป