ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ
2.จัดทำโดย

นางสาวภันทิลา  ปัญญาสา

นายนพดล  ทองสุขแก้ว

นางสาวจารุวรรณ  ปราบปราม

3.อีเมลล์ Pantira1209@gmail.com
4.บทคัดย่อ

         โครงการ เรื่อง การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ เนื่องจากสภาวะของโลกในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจการค้าขายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีมากที่สุดในปัจจุบัน และการค้าขายมีมากมายหลากหลายประเภท เช่น พ่อค้ารถเข็น  แม่ค้าขายของชำ  สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน  ร้านค้าในแผนก เป็นต้น ล้วนแล้วไม่ว่าจะเป็นการค้าประเภทใดย่อมใช้เงินตราเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นรายรับหรือรายจ่าย  ส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าก็จะมีเงินเหรียญเป็นจำนวนมาก  ซึ่งปัญหาที่เกิดจากเงินเหรียญก็มีมาก  เช่น การแยกเหรียญผิดประเภท  การนับเหรียญผิด  การใช้เวลานานในการนับเหรียญและแยกเหรียญ  เป็นต้นคณะผู้จัดทำจึงได้เห็นความสำคัญของปัญหานี้คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นโครงการเรื่องเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อนำไปแก้ไขปัญหานี้โดยการประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญที่สามารถใช้งานได้ และ มีประสิทธิ์ภาพขึ้นมา โดยออกแบบเครื่องแยกเหรียญไว้ว่า ขนาดของเครื่อง ขนาดของด้านบนเครื่อง กว้าง 14 ซม. ยาว 31 ซม.  ขนาดของด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง กว้าง 25 ซม. ยาว 31 ซม. และขนาดความสูงของเครื่อง 27 ซม. ตัวเครื่องมีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม วัสดุที่นำมาใช้สร้างเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติคือ แผ่นอะคริลิค ควบคุมการทำงานต่างๆโดยบอร์ด Arduino  และแยกเหรียญโดยใช้หลักการสั่นสะเทือนของมอเตอร์ โดยวัตถุประสงค์ในการทำโครงงานคครั้งนี้ เพื่อประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ , เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องแยกเหรียญ  ประโยชน์ที่คณะผู้จัดทำคาดว่าจะได้รับในการทำโครงงานครั้งนี้ ประหยัดเวลาในการแยกเหรียญ , ได้เครื่องแยกเหรียญที่มีราคาที่ต่ำกว่า เครื่องแยกเหรียญของบริษัทต่างๆ , ได้เครื่องแยกเหรียญที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง

5.บทนำ

         สภาวะของโลกในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ  ทางด้านการศึกษา  และทางด้านเทคโนโลยี ทำให้มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจทำให้มีการสร้างงานสร้างอาชีพต่างๆขึ้นมามากมายตามความเจริญก้าวหน้าของยุคและสมัย

         การค้าขายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีมากที่สุดในปัจจุบัน และการค้าขายมีมากมายหลากหลายประเภท เช่น พ่อค้ารถเข็น  แม่ค้าขายของชำ สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน ร้านค้าในแผนก เป็นต้น ล้วนแล้วไม่ว่าจะเป็นการค้าประเภทใดย่อมใช้เงินตราเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นรายรับหรือรายจ่าย  ส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าก็จะมีเงินเหรียญเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาที่เกิดจากเงินเหรียญก็มีมาก เช่น การแยกเหรียญผิดประเภท การนับเหรียญผิด การใช้เวลานานในการนับเหรียญและแยกเหรียญ เป็นต้น และในปัจจุบันมีหลายบริษัทได้คิดค้นและผลิตเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติขึ้นมา แต่พ่อค้าแม่ค้าจำนวนมากไม่สามารถที่จะซื้อเครื่องแยกเหรียญที่มีขายตามท้องตลาดได้เนื่องจากเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่มีขายตามท้องตลาดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงจึงทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้ไม่ค่อยมากนั้นไม่สามารถที่จะซื้อได้ตามความต้องการ
       คณะผู้จัดทำจึงได้เห็นความสำคัญของปัญหานี้คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นโครงการเรื่องเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อนำไปแก้ไขปัญหานี้โดยการประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญที่สามารถใช้งานได้ และ มีประสิทธิ์ภาพขึ้นมา เพื่อทำให้การแยกเหรียญเป็นเรื่องที่ง่าย ประหยัดเวลามากขึ้นและได้เครื่องแยกเหรียญที่มีประสิทธิ์ภาพสำหรับพ่อค้าแม่ค้าทั่วไป


 

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

6.1  เพื่อประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ
6.2  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องแยกเหรียญ

7.ขอบเขตของการวิจัย

7.1   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  คือ  สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน แม่ค้าขายของชำ  ครูผู้สอน  ร้านค้าในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
        กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ กำหนดจากร้านค้าสหกรณ์ในโรงเรียน จำนวน 1 ร้าน และร้านค้าในแผนก จำนวน 1 ร้าน
        กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อทดลองการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ กำหนดจากครูผู้สอนภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน  5 คน
7.2  เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา
       7.2.1 จอ LCD
       7.2.2 เซ็นเซอร์ก้ามปู
       7.2.3 บอร์ด Adriano
       7.2.4 แผ่นอะคริลิค
       7.2.5 มอเตอร์
       7.2.6 เงินเหรียญ
       7.2.7 เครื่องแยกเหรียญตามท้องตลาด
7.3  ระยะเวลาในการดำเนินโครงการวิจัย

       วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559  ถึง วันที่  พ.ศ. 2559

8.สมมติฐาน

เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติสามารถแยกเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ

       1)  วิเคราะห์ปัญหาและประเมินความต้องการของผู้ใช้งาน

       2)  ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

       3)  ออกแบบนวัตกรรม คือ เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติเพื่อใช้แยกและนับเหรียญ

       4)  เสนอผู้เชียวชาญ

       5)  สร้างนวัตกรรม

       6)  ทดสอบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น

       7)  แก้ไขปรัับปรุงนวัตกรรม

ขั้นตอนที่ 2 การนำนวัตกรรมไปใช้

       1)  นำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ 1 กำหนดจากร้านค้าสหกรณ์ในโรงเรียน จำนวน 1 ร้าน

       2)  นำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ 2 กำหนดจากนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์                             จำนวน  5 คน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล

       1)  ใช้แบบประเมินวัดความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติของผู้เชียวชาญ

       2)  ใช้แบบประเมินวัดความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติของครูผู้สอน

       3)  ใช้แบบประเมินวัดความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติของผู้ใช้งาน

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

        ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  คือ  สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน แม่ค้าขายของชำ  ครูผู้สอน  ร้านค้าในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
        กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ กำหนดจากร้านค้าสหกรณ์ในโรงเรียน จำนวน 1 ร้าน และร้านค้าในแผนก จำนวน 1 ร้าน
        กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อทดลองการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ กำหนดจากครูผู้สอนภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน  5 คน

10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ         11.1  การสร้างและออกแบบเครื่องแยกและนับเหรียญอัตโนมัติ ขั้นตอนในการออกแบบ โดยรายละเอียด แสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการดังภาพที่ 10-1 
               
        11.2  การวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมินนวัตกรรม ดังแสดงในภาพที่ 10-2
               
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ดำเนินโครงการดำเนินการ ดังนี้
       คณะผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง  โดยใช้แบบประเมินวัดความพึงพอใจของครูผู้สอนที่ใช้งานเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้น แบบประเมินวัดความพึงพอใจของผู้ใช้ที่ใช้งานเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ โดยกำหนดจากร้านค้าสหกรณ์ในโรงเรียน จำนวน 1 ร้าน และร้านค้าในแผนก จำนวน 1 ร้านและเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อทดลองการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ โดยกำหนดจากครูผู้สอนภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน  5 คน
 
12.วิเคราะห์ข้อมูล

13.1  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
         การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
         IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
         คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
         N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
13.2  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
13.3  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

13.ผลของการวิจัย         การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลรวม 7 ตอน ดังนี้
         ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
         ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
         ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
         ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
         ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
         ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
 
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                P       แทน ร้อยละ
                x̅       แทน ค่าเฉลี่ย
               S.D     แทน ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
         ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม
               
         จากตารางที่ 1 พบว่า การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติอยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
         ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
               
        จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 8 คน คิดเป็น 40% เพศหญิง 12 คน คิดเป็น 60% ผู้ใช้อายุอยู่ในเกณฑ์16-20 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็น 50% และอยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็น 30%  และอยู่ในช่วงอายุสูงกว่า 30 ปีขึ้นไปอีก 4 คน คิดเป็น 20%

ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติด้านโครงสร้าง
ตารางที่ 3  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง
               
         จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้นด้านโครงสร้าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̅=4.16) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่าทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญแยกเหรียญสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅=4.50) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (x̅=-3.90)

ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติด้านการใช้งาน
ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน
               
      จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้นด้านการใช้งานโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̅=4.17) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่าทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญแยกเหรียญสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅=4.35) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (x̅=-3.95)

ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติด้านความคุ้มค่า
ตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า
               
         จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้นด้านความคุ้มค่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̅=4.10) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่าทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญแยกเหรียญสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅=4.20) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด (x̅=4.00)

ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
         ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติด้านคุณค่า
ตารางที่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า
               
         จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้นด้านคุณค่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̅=4.40) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่าทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญแยกเหรียญสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅=4.40)

ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
         สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้น ดังนี้
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน
               
          จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้นโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̅=4.20) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินพบว่าทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากโดยความพึงพอใจในการใช้เครื่องแยกเหรียญแยกเหรียญสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̅=4.40) และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่ (x̅=4.10)
14.การอภิปรายผล

       จากผลการศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ พบว่า เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่นำมาใช้งานนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแยกและนัยเหรียญ เพราะในปัจจุบันการใช้เงินตราในการซื้อขายนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงทำให้ได้รับเงินตราหลากหลายชนิดทั้งธนบัตรและเงินเหรียญทำให้มีปัญหาในการแยกและนับเหรียญ การนับและแยกแบบเร่งรีบอาจทำให้แยกประเภทของเหรียญผิดและนับจำนวนผิดก็เป็นไปได้ ดังนั้นเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควรมี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลดปัญหาแยกและนับเหรียญผิด และยังเป็นช่วยประหยัดเวลาในการแยกเหรียญและมีเวลาทำงานอื่นๆเพิ่มขึ้นด้วย   ซึ่งสอดคล้องกับโครงงานเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ

         นอกจากความสำคัญของเครื่องแล้วยังมีคามสะดวกสบายในการใช้งานโดยเครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติที่สร้างขึ้น มีความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับ ดีมาก เพราะตัวเครื่องมีขนาดที่กะทัดรัดประหยัดพื้นที่ในการเก็บวางและยังมีน้ำหนักที่เบาสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หลักการทำงานของตัวเครื่องใช้งานง่าย ความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งเป็นผลสืบเนืองมาจากประสิทธิภาพและความสำคัญของตัวเครื่อง ผู้ใช้ที่ได้ทดลองใช้เครื่องนั้นมีความรู้สึกสะดวกสบายในการแยกและนับเหรียญและยังรู้สึกประหยัดเวลามากขึ้น

15.ข้อเสนอแนะ

16.1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้งาน

         1)  ในการใช้นั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการใส่เหรียญจำนวนมากลงไปในเครื่อง การใส่เหรียญจำนวนมากลงไปในเครื่องทีเดียวนั้นจะทำให้เหรียญติดกันตรงถาดเขย่าและไม่สามารถแยกเหรียญได้ ดังนั้น ควรที่จะเทเหรียญลงไปในเครื่องที่ละไม่มากเกินไป หรือ เทเหรียญลงไปในจำนวนน้อยแต่ต่อเนื่องในลักษณะเดียวกับการเทน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องของเหรียญติดภายในเครื่อง

16.2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

         1)  ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น  โดยอาจมีการหน่วงมอเตอร์เพิ่มขึ้นเพื่อให้การสั่นสะเทือนของถาดเขย่าแรงขึ้น จะทำให้การแยกเหรียญสามารถแยกได้เร็วขึ้น

         2)  ควรปรับเปลี่ยนการประกอบโครงสร้างภาพนอกเพราะการใช้กาวร้นติดนั้นเวลาตัวเครื่องภายในมีปัญหา เราแก้ไขปัญหาค่อนข้างยากเพราะไม่สามารถถอดฝาที่ปิดด้านข้างได้ ควรใช้น๊อตยึดให้เราสามารถถอดส่วนประกอบต่างๆได้ เพื่อให้เราสามารถแก้ไขเวลามีปัญหาภายในเครื่องได้ หรือถอดเปลี่ยนอะไหล่ได้

16.บรรณานุกรม


ผศ.ศุภชัย สุรินทร์วงศ์. (2541). มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง  สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
                     (ไทย-ญี่ปุ่น)ประเภทหนังสือ online ebooks  

รศ.วิรุต ศรีรัตนะ.  (2541). เซ็นเซอร์ และทรานสดิวเซอร์ในงานอุสาหกรรม สำนักพิมพ์ซีเอ็ด ยูเคชั่น ,บมจ.   

ผู้ช่วย  ศาตราจารย์ ดร. พนัส นัถฤทธิ์. (2560).  ไมโครคอนโทรลเลอร์ และการประยุกต์  สำนักพิมพ์
                   พิษณุโลก:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิกิพีเดีย. (2560). สารานุกรมเสรี เหรียญ  สืบค้นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 วิกิพีเดีย:
                   https://th.wikipedia.org/wiki/เหรียญ  

ครูทันพงษ์ ภู่รักษ์. (2556). การแสดงผลด้วยจอ LCD ของ Arduino  วันที่สืบค้น 17 กุมภาพันธ์
                   พ.ศ.2561 http://www.sbt.ac.th:    www.sbt.ac.th/new/sites/default/files/TNP_Unit_6.pdf

บุญรักษ์  กาญจนวรวณิช.   อะคริลิกพลาสติก: คู่แข่งกระจกแก้ว  วันสืบค้นที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561  MTEC:
                   https://www.mtec.or.th/academic-services/mtec-knowledge/577-
 

17.ประวัติผู้จัดทำ
                
               
 
            ชื่อ-สกุล      : นางสาวภันทิลา  ปัญญาสา
อายุ              : 18 ปี 
วันเกิด         : วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2542
ภูมิลำเนา    : อยู่บ้านเลขที่ 13/6 ม.8 ต.บ้านปิน อ.ลอง  จ.แพร่
 
ประวัติการศึกษา
                จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านปิน(ปินประชาราษฎร์)
                จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนลองวิทยา
ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยเทคนิคแพร่
 
ประวัติการทำงาน
                ผ่านการฝึกงานตำแหน่งช่างซ่อม       ร้านแพร่ปริ้นเตอร์ สาขาลอง     
                พนักงานพาสไทม์ตำแหน่ง Cook       The Pizza Company
 
การติดต่อ
                E-mail : Pantira1209@gmail.com
                Tele : 0972143045

               
 
            ชื่อ-สกุล      : นายนพดล   ทองสุขแก้ว
อายุ              : 18 ปี 
วันเกิด         : วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543
ภูมิลำเนา    : อยู่บ้านเลขที่ 126/1 ม.5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.เเพร่
 
ประวัติการศึกษา
                จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ เด่นไชยวิทยา
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ เด่นไชยวิทยา
ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยเทคนิคแพร่
 
ประวัติการทำงาน
                ผ่านการฝึกงานตำแหน่งช่างซ่อม       หจก.ท็อปวิวพ้อยท์       
               
การติดต่อ
                E-mail : noppadon69.mw@gmail.com
                Tele : 0846494487

               
 
                ชื่อ-สกุล      : นางสาวจารุวรรณ  ปราบปราม
อายุ              : 18 ปี 
วันเกิด         : วันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 2542
ภูมิลำเนา    : อยู่บ้านเลขที่ 34 ม.1 ต.ปงป่าหวาย อ.เด่นชัย จ.เเพร่
 
ประวัติการศึกษา
                จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนบ้านปงป่าหวาย
                จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนชุมชนบ้านปงป่าหวาย
ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยเทคนิคแพร่
 
ประวัติการทำงาน
                ผ่านการฝึกงานตำแหน่งพนักงาน       หจก.ท็อปวิวพ้อยท์
               
การติดต่อ
                E-mail : bes_oom_1999@hotmail.com
                Tele : 0888072761
 
18.ลิงค์ยูทูป