ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
2.จัดทำโดย

นายธุวานนท์ วรรณเวช

นายณัฐกานต์ กองชัย

3.อีเมลล์ champz.mails@gmail.com
4.บทคัดย่อ

ชื่อ             : ธุวานนท์ วรรณเวช, ณัฐกานต์ กองชัย   
ชื่อเรื่อง       : พัฒนาแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
สาขาวิชา     : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
สาขางาน     : สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
ที่ปรึกษา      : ว่าที่ ร.ต. ธีระพงศ์ วงค์ตวัน
ปีการศึกษา   : 2560


บทคัดย่อ

 

            โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบ แอพพลิเคชันข้อมูลร้านซ่อมรถให้มีประสิทธิภาพ และยังมีส่วนช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลร้านซ่อมรถ ในพื้นที่ที่รถเสีย ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาการในหาร้านซ่อมรถ ซึ่งมีการศึกษาและวิเคราะห์ ความต้องการต่างๆของผู้ใช้เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
            การดำเนินการโครงการใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( x ¯ )  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนการใช้แอปพลิเคชั่นครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้แอปพลิเคชั่นด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.01

5.บทนำ

5.1 ความเป็นมาของโครงการ
            ในปัจจุบันมีร้านซ่อมรถในหนึ่งตำบลมีมากกว่า 10 ร้าน และยังมีร้านซ่อมรถเล็กๆ อีกมากมาย ทั้งร้านซ่อมรถจักยานยนต์และรถยนต์ ในบางร้านอาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่ต้องการทราบที่อยู่และตำแหน่งของร้านซ่อมรถ ซึ่งการจัดทำ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ นี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เช่น ยางรั่ว น้ำมันหมด คาร์บูเรเตอร์เสีย เป็นต้น เนื่องจากอาการเสียบางกรณีทำให้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์เคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าได้ ดังนั้นจึงต้องการหาร้านซ่อมรถเพื่อที่จะซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ให้สามารถใช้งานต่อไปได้
            ผู้จัดทำจึงอยากใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มคนที่ประสบปัญหาดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้โดยตรงทั้งในด้านการศึกษาและในชีวิตประจำวันในการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มคนเหล่านั้นที่กำลังประสบปัญหา และยังสร้างสิ่งที่ได้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในสังคม ในสังคมปัจจุบันมีการทำงานแข่งกับเวลาตลอด ดังนั้นหากเราเสียเวลากับการหาร้านซ่อมรถอยู่นานเราอาจเสียทั้งการงานหรือการเรียนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก
            ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดนการจัดทำ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ เพื่อนเป็นการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มคนที่ประสบปัญหารถเสียในพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยได้มีทางเลือกที่ดีที่สุดและเป็นการพัฒนาการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

6.1 เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ

7.ขอบเขตของการวิจัย

7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ   ผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน นักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
         กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้  แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ คือ ผู้วิจัยเจาะจง ครูผู้สอน คือ โดยกำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญ ทางด้านสื่อประเภทแอพพลิเคชั่น จำนวน 3 คน
         กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้  แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ คือ ครูผู้สอนภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และนักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ โดยกำหนดจากบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน
7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา   
         แอพพลิเคชั่นสามารถแสดงข้อมูลร้านซ่อมรถได้
         แอพพลิเคชั่นสามารถแสดงแผนที่จาก Google maps ได้
         สามารถเพิ่มข้อมูลร้านซ่อมรถได้
         แอพพลิเคชั่นมีการแยกสีตัวอักษรเพื่อแยกชนิดของร้านซ่อมรถ
7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

8.สมมติฐาน

8.1 ได้แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.2 ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ประสบปัญหารถเสีย

9.วิธีดำเนินการวิจัย

โครงการนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและหาประสิธิภาพของ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
     ขั้นที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพ
                 1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                 2) ยกร่างนวัตกรรม คือ แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ เพื่อใช้ในการค้นหาร้านซ่อมรถที่ไม่คุ้นเคย

                 3) เสนอผู้เชี่ยวชาญ

                 4) ทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญครูผู้สอนภายในสาขาคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ จำนวน 3 คน

                 5) ทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ 2 นักศึกษาภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน

                 6) แก้ไขปรับปรุง
     ขั้นที่ 2 นำไปใช้
                 1) นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ 2 คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน

                 2) ทำการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลจากแบบทดสอบประสิทธิภาพของ แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ
     ขั้นที่ 3 ประเมินผล

                 1) ใช้แบบวันความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่ได้ผ่านการใช้งาน แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ ที่สร้างขึ้น

                 2) ใช้แบบวันความพึงพอใจของครูผู้สอนที่ได้ผ่านการใช้งาน แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ ที่สร้างขึ้น

                 3) ใช้แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ได้ผ่านการใช้งาน แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ ที่สร้างขึ้น

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

     1) ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน  20 คน
     2) กลุ่มตัวอย่าง
          กลุ่มตัวอย่าง คือ แอพลิเคชั่นข้อมูร้านซ่อมรถ
          กลุุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้  แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ คือ ผู้วิจัยเจาะจง ครูผู้สอน คือ โดยกำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญ ทางด้านสื่อประเภทแอพพลิเคชั่น จำนวน 3 คน
          กลุุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้  แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ คือ ครูผู้สอนภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และนักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ โดยกำหนดจากบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน

10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังภาพที่ 1

                 ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้นวัตกรรม
2.  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3.  ศึกษาทฤษดีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
4.  หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม

แผนผังการทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ดังภาพที่ 2

                                   ภาพที่ 2 แผนผังการทำงาน

การทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ดังแสดงในภาพที่ 3

                                    ภาพที่ 3 การทำงานของโปรแกรม

5. ระบบแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
    1) การใช้งานโปรแกรม
        1.1 เมื่อเปิดแอพพลิเคชั่นจะมีช่องให้กรอกที่อยู่ Address , พิกัด Latitude , พิกัด Longitude ดังภาพที่ 4
                  
                                            ภาพที่ 4 กรอกที่อยู่ Address , พิกัด Latitude , พิกัด Longitude

        1.2 เมื่อกรอกรายเอียดเสร็จแล้ว กดปุ่ม SAVE จากนั้นแอพพลิเคชั่นจะทำการปักหมุดตามที่กรอก พิกัด Latitude และ พิกัด Longitude ไว้บนแผนที่ ดังภาพที่ 5
                  
                                                               ภาพที่ 5 SAVE

        1.3 เมื่อกดปุ่ม MAP แอพพลิเคชั่นจะแสดงแผนที่ที่มีการปักหมุดของร้านซ่อมรถไว้ก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงปักหมุดพิกัดที่พึ่งทำการ SAVE เข้ามาด้วย ดังภาพที่ 6
                  
                                                               ภาพที่ 6 MAP

        1.4 เมื่อเลือกที่ปักหมุดจะแสดงข้อมูลของร้านซ่อมรถดังภาพ ดังภาพที่ 7
                  
                                                          ภาพที่ 7 แสดงพิกัดบนแผนที่

        1.5 เมื่อเลือกพิกัดที่ต้องการแล้ว กดปุ่มนำทาง แอพพลิเคชั่นจะทำการซิงค์ข้อมูลกับ Google Map เพื่อนำทางจากจุดที่อยู่ปัจจุบันไปยังตำแหน่งพิกัดร้านที่เลือกดังภาพที่ 8
                  
                                            ภาพที่ 8 นำทางจากจุดที่อยู่ปัจจุบันไปยังตำแหน่งพิกัดร้านที่เลือก 

6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                           
                        แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

      ตารางที่ 2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                   ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้     
                   ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                             จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                             ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                             มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                   ข้อ 17 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                            จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                            ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                            มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ
แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้  ที่มีต่อแอพพลิเคชั่น ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแอพพลิเคชั่น ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
             ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งาน  มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
                         ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น                                                                 ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                                                                               ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น
             ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
                   
ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
             ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น
             ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน                                                                               ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น    
           
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมายถูกลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                                    5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                                    4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                                    3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                                    2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                                    1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด

ตารางที่ ก-1  แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้งาน

      ข้อเสนอแนะ
       ...........................................................................................................................................
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล       ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ดำเนินโครงการวิจัยดำเนินการ ดังนี้
      ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของครูผู้สอนที่ใช้งาน แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ ที่สร้างขึ้น แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาจากการใช้งาน แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ ที่ส้รางขึ้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ คือ ผู้วิจัยเจาะจง ครูผู้สอน โดยกำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญทางด้านโปรแกรม จำนวน 3 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อการใช้ แอพพลิเคชั่นค้นหาร้านซ่อมรถ คือ นักศึกษาภายในสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน
12.วิเคราะห์ข้อมูล

1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

13.ผลของการวิจัย

13.1 การพัฒนาแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ในการทดลองใช้งานเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ พบว่า การเพิ่มข้อมูล การบันทึกข้อมูล มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันการสูญหายของข้อมูลและจัดเรียงข้อมูลอย่างมีระบบ ส่วนด้านการนำทาง การใช้งาน ขนาด พบกว่ามีประสิทธิภาพในการนำทางจากพิกัดที่อยู่ปัจจุบันหรือพิกัดอื่นๆ ไปยังพิกัดร้านซ่อมรถที่เลือกอย่างถูกต้องและแม่นยำ และด้านการรองรับการติดตั้งในระบบปฏิบัติการอื่น การบันทึกลงบนโทรศัพท์มือถือ พบกว่า สามารถติดตั้งลงบนระบบปฏิบัติการตั้งแต่ API 14 : Android 4.0 เป็นต้นไปได้ (หากเป็นเวอร์ชั่นต่ำกว่านี้ แอพพลิเคชั่นจะไม่สามารถแสดงข้อมูลแผนที่ได้)

13.2 ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ สำหรับผู้เชี่ยวชาญพบกว่า มีความพึงพอใจในการเพิ่มข้อมูล บันทึกข้อมูล อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจในการนำทาง การใช้งาน ขนาด อยู่ในระดับมาก และการรองรับการติดตั้งในรับบปฏิบัติการอื่น การบันทึกลงบนโทรศัพท์มือถือ อยู่ในระดับ ปานกลาง

13.3 ความพึงพอใจของผู้ประสบเหตุในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูล้รานซ่อมรถ ด้านความสำคัญของแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถที่นำมาใช้งาน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบกว่า อยู่ในระดับมากทุกประเด็น

13.4 ความพึงพอใจของผู้ประสบเหตุในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูล้รานซ่อมรถ ด้านความสะดวกในการใช้งานแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบว่า ความสามารถในการโอนย้ายข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว มีความพึงพอใจในระดับ มาก รองลงมามีความพึงพอใจความสะดวกในการใช้งาน แอพพลิเคชั่นเข้าใจง่ายและการใช้งาน อยู่ในระดับมาก

13.5 ความพึงพอใจของผู้ประสบเหตุในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูล้รานซ่อมรถ ด้านความสนใจของผู้ประสบเหตุต่อแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบกว่า ส่งเสริมด้านความคิดและการแก้ไขปัญหา ให้ประสบการณ์ที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก

13.6 ความพึงพอใจของผู้ประสบเหตุในการใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูล้รานซ่อมรถ ด้านคุณค่าโดยสรุปมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบว่า อยู่ในระดับมากทุกประเด็น

14.การอภิปรายผล

            จากผลการศึกษาและพัฒนาแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ พบว่า แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถที่นำมาใช้งาน นั้นมีความสำคัญต่อผู้ประสบเหตุรถเสียในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยมากเพราะในสังคมปัจจุบันมีการทำงานแข่งกับเวลาตลอด ดังนั้นหากเราเสียเวลากับการหาร้านซ่อมรถอยู่นานเราอาจเสียทั้งการงานหรือการเรียน ฉะนั้นการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก

            นอกจากความสำคัญของแอพพลิเคชั่นแล้วยังมีความสะดวกในการใช้งานโดยแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถนี้ มีความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับ ดีมาก เพราะตัวแอพพลิเคชั่นมีขนาดไฟล์ที่ไม่ใหญ่ สามารถโอนย้ายข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟนเครื่องอื่นๆได้รวดเร็ว แอพพลิเคชั่นการใช้งานเข้าใจง่าย ความเข้าใจของผู้ประสบเหตุต่อแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถนั้นโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับ ดีมาก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากประสิทธิภาพและความสำคัญของแอพพลิเคชั่น ผู้ประสบเหตุที่ได้ผ่านการใช้งานจากแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถนั้นมีความรู้สึกอุ่นใจและสบายใจ เนื่องจากได้รับประสบการณ์ตรงจากเรื่องจริง

15.ข้อเสนอแนะ

15.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

       1.) จากผลการศึกษาและพัฒนาพบว่า แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถเหมาะสำหรับการนำไปติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ Android API 14 เป็นต้นไป แอพพลิเคชั่นจึงจะทำให้การทำงานและการแสดงผลออกที่ออกมานั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในการนำไปใช้งานที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การค้นหาพิกัดร้านซ่อมรถในพื้นที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย ผ่านแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ดังนั้นการนำไปใช้งานควรที่จะใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android เท่านั้น

       2.) การใช้งานในส่วนของการเพิ่มข้อมูลนั้นควรที่จะกำหนดพิกัดตำแหน่ง Latitude และ พิกัด Longitude ให้แม่นยำเพราะหากกำหนดพิกัดไม่ถูกต้องตามสถานที่ อาจทำให้จุดมาร์คบนแผนที่เคลื่อนไปอยู่ ณ สถานที่อื่นได้ ดังนั้น ควรจะต้องทดลองใช้งานหลายๆ ครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญในการกำหนดพิกัดตำแหน่ง LatLng

15.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

       1.) เพิ่มขอบเขตการทำ แอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ให้กว้างขึ้น

       2.) เพิ่มออฟชั่นในการใช้งานให้ทันสมัยขึ้น

       3.) ออกแบบหน้าตาของแอพพลิเคชั่นข้อมูลร้านซ่อมรถ ให้สวยงามขึ้น

16.บรรณานุกรม

แดงต้อย คนธรรพ์. โครงการ(Project) พิมพ์ครั้งที่ 1. นนท์บุรี: บริษัทศูนย์หนังสือ เมืองไทย จำกัด,2557 

ชฎา  ณรงค์ฤทธิ์. (2556). [ออน-ไลน์]. Google Map. แหล่งที่มา : http://www.cgistln.nu.ac.th/gistweb

_2013/images/document/1.Map.pdf

ซาฟี   อาแว. (2553). [ออน-ไลน์]. ภาษา JAVA. แหล่งที่มา: http://rungringjung.files.wordpress

.com/2010/10/phpe0b884e0b8b7e0b8ade0b8ade0b8b0e0b984e0b8a3.pdf

 

สำนักบริการวิชาการ ม.บูรพา (2553). [ออน-ไลน์]. ระบบฐานข้อมูล. แหล่งที่มา: http://www.uniserv

.buu.ac.th/train-com/MS-Access2010.pdf

อภิรักษ์  บุตรละ. (2552). [ออน-ไลน์]. การประยุกต์ใช้ Google Map. แหล่งที่มา : http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/635/1/apiruk_butl.pdf

17.ประวัติผู้จัดทำ                                                       
ชื่อ – นามสกุล               นายธุวานนท์ วรรณเวช
วัน เดือน ปี เกิด              19 กรกฎาคม 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน                   63 หมู่ 6 ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
วุฒิการศึกษา                  ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                                    สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
รหัสนักศึกษา                   5931280018
เบอร์โทรศัพท์                 088-749-4930
อีเมล์                             champz.mails@gmail.com


                                                      
ชื่อ – นามสกุล               นายณัฐกานต์ กองชัย
วัน เดือน ปี เกิด              13 เมษายน 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน                   21 หมู่ 10 ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
วุฒิการศึกษา                  ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
                                    สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ 
รหัสนักศึกษา                   5931280036
เบอร์โทรศัพท์                 084-128-5917
อีเมล์                              king_olo@hotmail.com
 
18.ลิงค์ยูทูป