ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์
2.จัดทำโดย

นายมงคลทอง ปินตามูล

นายกิตติพงษ์ ก้อนอาทร 

3.อีเมลล์ kang_12605@hotmail.co.th
4.บทคัดย่อ

     โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

        การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวส.)สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (x̅) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้แอพพลิเคชั่นในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ชุดในการใช้แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

      ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.02

5.บทนำ

     ในปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์มากมาย และเมื่อคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานมากขึ้น ผลที่ตามมาคือมีอาการเสียของคอมพิวเตอร์ ซึ่งการจัดทำ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์  นี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เช่น คอมพิวเตอร์เปิดได้ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้ เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว  เป็นต้น เนื่องจากอาการเสียบางกรณีทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้การได้ ดังนั้นจึงต้องการให้สามารถแก้ใขปัญหาคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานต่อไปได้

     ผู้จัดทำจึงอยากใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มคนที่ประสบปัญหาดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้โดยตรงทั้งในด้านการศึกษาและในชีวิตประจำวันในการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มคนเหล่านั้นที่กำลังประสบปัญหา และยังสร้างสิ่งที่ได้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในสังคม ในสังคมปัจจุบันมีการทำงานแข่งกับเวลาตลอด ดังนั้นหากเราเสียเวลากับการนำคอมพิวเตอร์ไปซ่อมที่ร้านรับซ่อม เราอาจเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลางานหรือการเรียนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก

     ดังนั้นผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่า การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดนการจัดทำ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ เพื่อนเป็นการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มคนที่ประสบปัญหาคอมพิวเตอร์เสียได้มีทางเลือกที่ดีที่สุดและเป็นการพัฒนาการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1) เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

2) เพื่อหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

7.ขอบเขตของการวิจัย

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน

2)เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา คือ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

3)ระยะเวลาในการดำเนินโครงการวิจัย คือ  ตลอดภาคเรียน ที่ 1และ2 ปีการศึกษา 2560

8.สมมติฐาน

แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์สามมารถเพิ่ม ลบ ข้อมูลเนื้อหา รูปภาะและวีดีโอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.วิธีดำเนินการวิจัย

1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแอพพลิเคชั่นการออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา JAVA ร่วมกับ MySQL
2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของแอพพลิเคชั่นและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3 ) การสร้างและออกแบบ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์
4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้
5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
6 ) สอนการใช้งานแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
7 ) นักศึกษาทดลองใช้แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง

10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ 11.1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 1

                              ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1)  วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น
2)  ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
3)  กำหนดขอบเขตของแอพพลิเคชั่น และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนแอพพลิเคชั่น
4)  ออกแบบและสร้างแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

11.2 แผนผังการทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ดังแสดงในภาพที่ 2

                                                         ภาพที่ 2 แผนผังการทำงาน

11.3 การทำงานของการพัฒนาและหาประสิทธิแอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ดังแสดงในภาพที่ 3
                                                                                           ภาพที่ 3 การทำงานของแอพพลิเคชั่น

11.4 การใช้งาน
1) สมัครสมาชิกเพื่อ login เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่น ดังภาพที่ 4
       
                    ภาพที่ 4 สมัครสมาชิกเพื่อ login เข้าใช้งานแอพพลิเคชั่น

2) เลือกเนื้อหาที่ต้องการเรียน ดังภาพที่ 5
       
                            ดังภาพที่ 5เลือกเนื้อหาที่ต้องการเรียน 

3) ทำแบบทดสอบ ดังภาพที่ 6
      
                              ภาพที่ 6ทำแบบทดสอบ 


11.5 ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ
                          แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
 ตารางที่ 1  แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ

 
                              การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ
 ตารางที่ 2  การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ

                   แสดงการคิดคำนวณค่า IOC
                         ข้อ 1   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 2   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 3   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 4   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 5   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 6   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 7   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 8   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 9   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3
                                      จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                      ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 10   ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 11  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                      มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้
                         ข้อ 12  ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2
                                       จำนวนผู้เชี่ยวชาญ  3  คน
                                       ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667
                                       มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้

แบบประเมินผลความพึงพอใจในการพัฒนาและประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อม                                                                         คอมพิวเตอร์ ​
แบบประเมินผลความพึงพอใจในการพัฒนาและประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้ใช้ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการปรับปรุงแอพพลิเคชั่น ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป
คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน
               ตอนที่  1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
               ตอนที่  2 ความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์สื่อการเรียนการสอน มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้                                                   ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น
                             ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชั่นการทำงาน
                             ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้แอพพลิเคชั่น
               ตอนที่  3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ                                 
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

                                  
ตอนที่  2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในใช้ระบบ Intro Page ซึ่งประเมิน ทั้งหมด 3 ด้านดังนี้
               ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม
               ด้านที่ 2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันการทำงาน
               ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม
คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย P ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
                                    5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด
                                    4 หมายถึง ในระดับดี มาก
                                    3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง
                                    2 หมายถึง ในระดับดี น้อย
                                    1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด
ตารางที่ ก.1 แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ แอพพลิเคชั่นสื่อการเรียนการสอนซ่อมคอมพิวเตอร์

           ข้อเสนอแนะ
       ...........................................................................................................................................
 
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังภาพที่ 7

                       ภาพที่ 7 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน 
                       
                            ภาพที่ 8 การใช้งานแอพพลิเคชั่น
                     
                       ภาพที่ 9 การใช้งานแอพพลิเคชั่น
12.วิเคราะห์ข้อมูล

1)  การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ
     การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์                                                   
                            
            IOC   คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency)
            คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
             N      คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
2)  การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ
                               
                แทน คะแนนเฉลี่ย

           แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

             N     แทน จำนวนข้อมูล
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation)
                         
              S.D  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง  

             คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

              คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
                N        คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

13.ผลของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้แอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยขอนำเสนอตามลำดับ โดยเสนอผลการวิเคราห์ข้อมูล รวม 7 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ตอนที่ 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 3. ผลการวิเคราห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความสำคัญของแอปพลิเคชั่นสอน
ตอนที่ 4.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นการทำงาน
ตอนที่ 5.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น
ตอนที่ 6.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านคุณค่า
ตอนที่ 7.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

ตอนที่ 1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

 จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแอพพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ พบว่า
1) การแสดงข้อมูลเนื้อหา สามารถแสดงข้อมูลเนื้อหาบนแอพพลิเคชั่น
2) การแสดงวีดีโอ สามารถแสดงวีดีโอ บนแอพพลิเคชั่นได้
3) การทำแบบทดสอบ สามารถทำแบบทดสอบบนแอพพลิเคชั่น
4) สมัครสมาชิก สมารถสมัครสมาชิกของแอพพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ได้
5) การบันทึกลงในโทรศัพท์ คือติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ API 14 : Android 4.0 (IceCreamSandwich) ได้
6) ใช้งาน สามารถติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Android
7) ขนาด แอพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมีขนาดอยู่ที่ 3.90 MB 
8) การรองรับการติดตั้งในระบบปฏิบัติการอื่น สามารถรองรับ Android API 14

ตอนที่ 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

 จากตารางที่ 2 พบว่านักเรียนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 15 คน คิดเป็น 85% เพศหญิง 5 คน คิดเป็น 15% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ผู้มีประสบการณ์ในการใช้แอพพลิเคชั่นที่ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 คนคิดเป็น 100%

ตอนที่ 3. ผลการวิเคราห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความสำคัญของแอปพลิเคชั่นสอน

 จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่น ความต้องการของผู้ใช้โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากคือ (x̅= 4.20)และเมื่อพิจารณาเป็น รายการประเมิน พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจด้านความสามารถของโปรแกรมในส่วนการออกแบบแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือ (x̅ = 4.31)และด้านความสามารถของแอพพลิเคชั่นส่วนการทำแบบทดสอบมีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุดคือ(x̅= 4.05)  

ตอนที่ 4.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นการทำงาน

 จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานตามฟังก์ชั่นการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คือ (x̄= 4.41) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจในการใช้คำสั่งต่างๆในส่วนของเมนูมีความสะดวกและความเร็วในการประมูลผลของแอพพลิเคชั่น เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.45) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือด้านแอพพลิเคชั่นที่สร้างมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริง มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.35) 

ตอนที่ 5.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น

 จากตารางที่ 4.5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.71) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมายรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.65) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือด้านความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีตัวอักษรบนแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.11) 


ตอนที่ 6.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านคุณค่า

จากตารางที่ 4.6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้านคุณค่าโดยสรุป โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.33) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจในการเป็นแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการเรียนรู้เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x̄= 4.35) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ (x̄= 4.31) 

ตอนที่ 7.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน

จากตารางที่ 4.7 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก (x̄= 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ (x̄= 4.44) 
 
14.การอภิปรายผล

       จากผลการศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ พบว่า แอปพลิเคชั่นสอนซ่อมคอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้งาน นั้นมีความสำคัญต่อผู้ที่มีปัญหาในด้านของผู้ที่อยากมีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหากการสื่อการเรียนการสอนของเราจึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนา
       นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของแอพพลิเคชั่นยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะแอพพลิเคชั่นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของแอพพลิเคชั่น ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก

15.ข้อเสนอแนะ

1)  ควรศึกษาในด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่นเบื้องต้นก่อนใช้งาน
2)  ควรศึกษากลุ่มคำสั่งต่างๆของการใช้แอพพลิเคชั่นเบื้องต้นก่อนใช้งาน

16.บรรณานุกรม

แดงต้อย คนธรรพ์. โครงการ(Project) พิมพ์ครั้งที่ 1. นนท์บุรี: บริษัทศูนย์หนังสือ เมืองไทย จำกัด,2557     

MySQL http://th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/mysql.html

Java http://marcuscode.com/lang/java

17.ประวัติผู้จัดทำ                           
ชื่อ-สกุล               นายมงคลทอง ปินตามูล
เกิดเมื่อวันที่         19 เมษายน 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน         50 ม.1 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ 2540
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                              สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              0930455059
อีเมล์                   kang_12605@hotmail.co.th

                          
ชื่อ-สกุล               นายกิตติพงษ์ ก้อนอาทร 
เกิดเมื่อวันที่         4 พฤศจิกายน 2540
ที่อยู่ปัจจุบัน         141/3 ม.5 ต.พระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่
วุฒิการศึกษา       ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                              สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
เบอร์โทร              0948570053
อีเมล์   
18.ลิงค์ยูทูป