
บทความโครงการนักศึกษา
|
||||
1.ชื่อโครงการ | สร้างและหาประสิทธิภาพระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 | |||
2.จัดทำโดย | นางสาวปวีณา วงษา นางสาวสมฤทัย เพียสนิท | |||
3.อีเมลล์ | gtoon2543@gmail.com Somruethai.piasanit@gmail.com | |||
4.บทคัดย่อ | บทคัดย่อ ชื่อ : นางสาวปวีณา วงษา นางสาวสมฤทัย เพียสนิท ชื่อเรื่อง : การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 สาขาวิชา : แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ คณะวิชา : เทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่ปรึกษา : ครู แดงต้อย คนธรรพ์ ปีการศึกษา : 2561 การจัดทำโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 สำหรับนักศึกษาแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ (2) เพื่อหาประสิทธิภาพระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 สำหรับนักศึกษาแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบเว็บไซต์รายวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการโดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ครูผู้สอนประจำวิชาโครงการ2 ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 9 คน และนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ1 จำนวน 47 คน แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ผลการทำโครงการ พบว่า (1) รูปแบบระบบเว็บไซต์รายวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ มีขั้นตอน ทั้งหมด 11 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการติดตามโดยใช้แบบใบติดตาม 2 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล บทที่ 4 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล บทที่ 5 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลรวมเล่ม ขั้นตอนการขออนุมัติการเข้าเล่ม 5 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลบทความโครงการ ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลคลิปการใช้งานนวัตกรรมขั้นการสอบจบวิชาโครงการ 2 ขั้นตอนการเผยแพร่ ขั้นตอนครูผู้สอนพิมพ์สรุปผลการเรียนวิชาโครงการ 2 ออกจากระบบ ขั้นตอนส่งผลการเรียนวิชาโครงการ 2 ตามระบบการวัดและประเมินผล (2) ระบบเว็บไซต์รายวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ ทั้ง 3 ด้าน มีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับมาก | |||
5.บทนำ | ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน อินเทอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทอย่างแพร่หลาย อำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันและประยุกต์การใช้งานได้อย่างกว้างขวาง หน่วยงานหรือบริษัทต่าง ๆได้นำประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในหลายรูปแบบ เช่น การซื้อ-ขายออนไลน์ การติดต่อสื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูล การทำสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น โดยสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเรียนการสอนวิชาโครงการ พบว่าการทำวิชาโครงการในปัจจุบันมีความละเอียดและยุ่งยากในการจัดทำรูปเล่มเอกสาร การจัดหน้าเอกสาร รวมถึงความยุ่งยากในการตรวจเอกสาร ทำให้สิ้นเปลืองกระดาษและงบประมาณในการพิมพ์เอกสารเพื่อส่งให้ครูผู้ตรวจ ถ้าไม่ผ่านจึงต้องแก้ไขเอกสารและพิมพ์ใหม่ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาเป็นอย่างมาก และเอกสารไม่แม่นยำตามแบบฟอร์มของโครงการ ผู้วิจัยจึงคิดระบบเว็ปไซต์รายวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ 2 ของนักเรียน นักศึกษา แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อแก้ปัญหาให้นวัตกรรมที่นักเรียนนักศึกษาเสนอเสร็จทันเวลา ลดค่าใช้จ่าย และมีคุณภาพสามารถใช้ได้จริง มีการทดสอบใช้งานจริง ลดปัญหาการติดตามนักเรียนนักศึกษาที่อยู่นอกสถานศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนในวิชาโครงการ 2 | |||
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย | 6.1 เพื่อสร้างระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 | |||
7.ขอบเขตของการวิจัย |
| |||
8.สมมติฐาน | สามารถนำระบบเว็ปไซต์รายวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ นี้ ไปใช้ในแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ | |||
9.วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาประสิทธิภาพของระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ 1 ของนักศึกษาแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ 2 รหัสวิชา 3128 – 8502 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยมีรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 9.1 วิธีการดำเนินโครการ 9.2 วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง 9.3 ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 9.4 กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา 9.5 หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 9.6 ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม/การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 9.7 สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ 9.8 ทดสอบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น 9.9 แก้ไขปรับปรุงนวัตกรรม 9.10 ใช้นวัตกรรม | |||
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | (1) ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ ครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชา โครงการ นักศึกษา แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ที่ลงทะเบียนเรียนเรียนวิชาโครงการ 1 จำนวน 58 คน (2) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชา โครงการ นักศึกษา แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ที่ลงทะเบียนเรียนเรียนวิชาโครงการ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 1 คือ ผู้วิจัยเจาะจง ครูผู้สอน โดยกำหนดจาก การแต่งตั้งของครูผู้สอน จำนวน 9 คน และนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ1 จำนวน 47 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 1 คือ ครูผู้สอนประจำวิชาโครงการ1 ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 9 คน และนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ1 จำนวน 47 คน แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ | |||
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | 11.1 ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ 2 สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ 2 และครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ 1 11.2 แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ 2 สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ2 และครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ 2 | |||
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ดำเนินโครงการวิจัยดำเนินการ ดังนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชา โครงการ นักศึกษา แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ต่อการใช้งานระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ ที่สร้างขึ้น และแบบทดสอบประสิทธิภาพของการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาโครงการ 2 สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ2 และครูผู้สอนประจำวิชา ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ 2 ที่สร้างขึ้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มกลุุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 คือ ผู้วิจัยเจาะจง ครูผู้สอน โดยกำหนดจากผู้ที่มีประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนเว็บไซต์ จำนวน 8 คน และนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ2 จำนวน 12 คน กลุุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 คือ ครูผู้สอนประจำวิชาโครงการ2 ครูที่ปรึกษาโครงการ คณะกรรมการสอบวิชาโครงการ แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 9 คน และนักเรียนนักศึกษาที่เรียนวิชาโครงการ2 จำนวน 48 คน แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ | |||
12.วิเคราะห์ข้อมูล | การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการสร้างระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล x̄ แทน ค่าเฉลี่ย S.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน P แทน ค่าร้อยละ | |||
13.ผลของการวิจัย | 14.1 ระบบ วิชาโครงการ 2 ออนไลน์ สามารถทำได้ตามที่ออกแบบ มี ขั้นตอนทั้งหมด 11 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนการติดตามโดยใช้แบบใบติดตาม 2 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล บทที่ 4 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล บทที่ 5 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลรวมเล่ม ขั้นตอนการขออนุมัติการเข้าเล่ม 5 ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลบทความโครงการ ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลคลิปการใช้งานนวัตกรรมขั้นการสอบจบวิชาโครงการ 2 ขั้นตอนการเผยแพร่ ขั้นตอนครูผู้สอนพิมพ์สรุปผลการเรียนวิชาโครงการ 2 ออกจากระบบ ขั้นตอนส่งผลการเรียนวิชาโครงการ 2 ตามระบบการวัดและประเมินผล 14.2 ผลการประเมินความคิดเห็นของการใช้งานระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 โดยผู้วิจัยได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) สาขาวิชาเทคนิคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโครงการ 2 รหัสวิชา 3128 –ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระดับชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1-2 จำนวน 48 คน และครูผู้สอน ครูที่ปรึกษาโครงการ ครู คณะกรรมการสอบหัวข้อโครงการ ครูคณะกรรมการสอบจบโครงการ 2 ของแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 10 คน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อการใช้งานระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบวิชาโครงการ 2 ออนไลน์ (1) ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ ( Functional Requirement Test ) ผลการประเมิน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อย พบว่า ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนใบติดตาม 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการลงทะเบียน, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษาและกรรมการสอบหัวข้อ, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการแต่งตั้งกรรมการสอบวิชาโครงการ 2, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการในการบันทึกคะแนนและข้อเสนอแนะ, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการจัดพิมพ์เอกสารจากระบบ, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนเอกสารบทที่ 4, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนเอกสารบทที่ 5, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการจัดการรูปเล่ม, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการบทความวิชาโครงการ, ความสามารถของระบบในด้านการจัดการในส่วนการแนบคลิปใช้งาน อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ ( Functional Test ) ผลการประเมิน พบว่า อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาประเด็นย่อย พบว่า ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลนำเข้า, ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล, ความถูกต้องในการปรับปรุงลบข้อมูล, ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรม, ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ, ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบงานจริง, การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น, ความถูกต้องระบบการบันทึกข้อมูลในใบติดตาม 2 อยู่ในระดับมาก ความน่าเชื่อถือได้ของระบบ อยู่ในระดับปานกลาง (3) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ ( Usability Test ) ผลการประเมิน พบว่า อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาประเด็นย่อย พบว่า ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิดตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรและรูปภาพ, ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย, ความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการออกแบบหน้าจอภาพ, ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้, ความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ, คำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย อยู่ในระดับมาก (4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ( Security Test ) ผลการประเมิน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาประเด็นย่อย พบว่า การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ, การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่าง ๆ, การป้องกันการล้มเหลวของข้อมูลในระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง, การป้องกันการกำหนดรหัสผ่านอย่างง่าย อยู่ในระดับมาก | |||
14.การอภิปรายผล | จากผลการศึกษาและพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลเพื่อใช้ในงานสารบัญพบว่า ระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ที่นำมาใช้งานนั้น เป็นประโยชน์ในการจัดรูปแบบข้อมูลเอกสาร เพราะในปัจจุบันมีการเรียนรายวิชาโครงการ 2 ซึ่งมีความยุ่งยากในการจัดการเอกสาร และการตรวจการเอกสารต้องพิมพ์เอกสารเพื่อนนำไปให้ครูตรวจ เมื่อไม่ผ่าน ก็ต้องกลับมาจัดทำเอกสารใหม่ และพิมพ์เอกสารเพื่อนำไปให้ตรวจใหม่ ทำให้เสียเวลา ดังนั้นระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควรมี ซึ่งระบบนี้ช่วยให้การจัดเอกสารสามารถส่งตรวจเอกสารได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และยังเป็นช่วยประหยัดเวลาส่งตรวจและแก้ไขเอกสาร ซึ่งสอดคล้องกับโครงงานระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 นอกจากความสำคัญของระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 แล้วยังมีความสะดวกสบายในการใช้งานโดยระบบออนไลน์ วิชาโครงการ 2 ที่สร้างขึ้น มีความต้องการของผู้ใช้ระบบ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก การทำงานตามฟังก์ชันของระบบผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ความง่ายต่อการใช้งานระบบผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นผลสืบเนืองมาจากประสิทธิภาพและความสำคัญของตัวระบบผู้ใช้ที่ได้ทดลองใช้ระบบนั้นมีความรู้สึกสะดวกสบายในการจัดรูปแบบเอกสารและยังรู้สึกประหยัดเวลามากขึ้น | |||
15.ข้อเสนอแนะ | 16.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้งาน 16.1.1 การพิมพ์รายงานของเอกสารต่าง ๆ จากระบบให้สามารถจัดหน้าได้เสมือนการจัดหน้างานวิจัย 16.1.2 ควรกำหนดขนาดของตัวหนังสือแต่ละหัวข้อให้ชัดเจน และใช้ฟอนต์ที่เป็นมาตรฐาน 16.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 16.1.1 เพิ่มความสามารถของระบบมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการส่งงานของ นักศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามของระบบ 16.1.2 เพิ่มความสามารถในการพิมพ์รายงานของเอกสารต่าง ๆ จากระบบให้สามารถจัดหน้าได้เสมือนการจัดหน้างานวิจัย 16.1.3 เพิ่มความสามารถของระบบครูที่ปรึกษาโครงการให้มีส่วนมากกว่าเดิม | |||
16.บรรณานุกรม | กรกมล สว่างจิตต์. (2551). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนแบบสตรีมมิ่งมีเดียผ่านในการ สอน เรื่อง การปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ). กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). [ออนไลน์] 2560.[สืบค้นวันที่ 20 มีนาคม 2560]. จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=47194&Key=news20 กาญจนา. (2546). ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่ สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้. (พิมพ์ที่9). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. กาสัก เต๊ะขันหมาก. (2549). เทคนิคการวิจัยเบื้องต้นจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ ธารอักษร จำกัด. หน้า 146-167. กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม และความมีวินัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนผ่านระบบออนไลน์ (e-learning). (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). กิตติภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ : เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์ จำกัด จินดารัตน์ เบอร์พันธุ์. (2544). การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัฐระพี โพธิ์ปีติกุล. (2555). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รูปแบบห้องปฏิบัติการเสมือน เรื่องการ ติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่าง อิเล็กทรอนิกส์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา). | |||
17.ประวัติผู้จัดทำ | ชื่อ-สกุล นางสาวปวีณา วงษา เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ที่อยู่ปัจจุบัน 118 หมู่ 4 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 591280002 เบอร์โทร 0932963306 อีเมล์ gtoon2543@gmail.com ชื่อ-สกุล นางสาวสมฤทัย เพียสนิท เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ที่อยู่ปัจจุบัน 34/1 หมู่ 4 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 591280029 เบอร์โทร 0933076137 อีเมล์ Somruethai.piasanit@gmail.com | |||
18.ลิงค์ยูทูป |