
บทความโครงการนักศึกษา
|
||
1.ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ | |
2.จัดทำโดย | นาย เจษฎา ถาโถม นาย อมรเทพ ท้วมอ้น | |
3.อีเมลล์ | gtaman258@gmail.com | |
4.บทคัดย่อ | ชื่อ : นาย เจษฎา ถาโถม, นาย อมรเทพ ท้วมอ้น ชื่อเรื่อง : การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ สาขาวิชา : แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ คณะวิชา : เทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่ปรึกษา : ครู กิตติ ไตรทิพยากร ปีการศึกษา : 2562 บทคัดย่อ การทำโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ เพื่อใช้เป็นเพื่อใช้เป็นตัวกลางนำเสนอข้อมูลศิษย์เก่าของนักศึกษา ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการโดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ นักศึกษาระดับชั้นปวช. จำนวน 20 คน รวมทั้งหมด 20 คน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม ผลการทำโครงการ พบว่า (1) รูปแบบระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ สำหรับศึกษา แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ มีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นการแก้ไขข้อมูลทั่วไป ขั้นการบันทึกข้อมูล.ขั้นการค้นหารายชื่อ.ขั้นการพิมพ์ข้อมูลศิษย์เก่า ออกจากระบบ (2) ประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ทั้ง 3 ด้าน มีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับมาก | |
5.บทนำ | เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆด้าน ทั้งด้านการเรียนการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและสังคมหรือแม้แต่การปกครองต่างๆก็ยังนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆอีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆในด้านการจัดการรวบรวมข้อมูล การเสนอสื่อข้อมูลต่างๆและการติดต่อที่มีความสะดวกและยังมีประสิทธิภาพที่ดีอีกด้วย ดั้งนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจึงเป็นหัวใจหลักสำคัญในการช่วยพัฒนาด้านการเรียนการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ สังคมและการปกครองต่างๆ จึงให้ประเทศเกิดความก้าวหน้ามากขึ้นโดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศเกิดการพัฒนามากๆขึ้นไป ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันนั้นสามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆได้ทั้งด้านการเรียนการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและสังคมหรือแม้แต่การปกครองต่างๆและคอยเป็นสิ่งที่อำนวยสะดวกมากยิ่งขึ้นและสืบเนื่องมาจากทางเราได้พบเห็นถึงปัญหาของนักเรียนนักศึกษาเก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่นั้นที่ได้ทำการจบศึกษาไปนั้นได้เกิดปัญหาต่างๆในการแจ้งข่าวสารต่างๆและอีกทั้งนี้ยังประสบปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่จบการศึกษาไปไม่ได้ จึงทำให้เป็นปัญหากับศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปแล้วนั้นเป็นอย่างมาก ดั้งนั้นทางเราจึงได้จัดทำเว็บไซต์ศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ขึ้นมาเพื่อให้ศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปนั้นได้ทราบข่าวสารต่างๆ อีกทั้งนี้ยังเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูลติดต่อกับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่จบการศึกษาไปแล้วอีกด้วย ดังนั้นทางเราหวังว่าเว็บไซต์ที่พวกเราได้จัดทำขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปแล้ว อีกทั้งนี้เว็บไซต์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ในการเป็นสื่อกลางในการรวบรวมข้อมูลศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปแล้วอีกด้วย | |
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย | 6.1 เพื่อสร้างเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ 6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ | |
7.ขอบเขตของการวิจัย | 7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 20 คน 7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนาโดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) การล็อคอินเข้าสู่ระบบ (2) เว็บไซต์มีความสวยงามและใช้งานได้ง่าย (3) บอร์ดประชาสัมพันธ์ ข่าวสารต่าง ๆ (4) การจัดหมวดหมู่ของแต่ละชั้นปีได้อย่างชัดเจน (5) การส่งออกด้วยการสั่งพิมพ์ 7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน ผู้สร้างใช้เวลาในการสร้างเริ่มวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 | |
8.สมมติฐาน | สามารถนำการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ | |
9.วิธีดำเนินการวิจัย | การสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ดังนี้ (1) วิธีการดำเนินโครการ (2) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง (3) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง (4) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา (5) หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม (6) ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม/การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (7) สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ (8) ทดสอบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น (9) แก้ไขปรับปรุงนวัตกรรม (10) ใช้นวัตกรรม (11) การสร้างแบบประเมินนวัตกรรม | |
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | (1) ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ นักเรียนนักศึกษาแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 20 คน (2) กลุ่มตัวอย่าง คือ การสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ โดยกำหนดจากนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 20 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ โดยกำหนดจากนักศึกษาแผนกวิชาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ | |
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | 11.1 ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ 11.2 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อการใช้งาน ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ | |
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของครูผู้สอนที่ใช้งานระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ ที่สร้างขึ้น แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน/นักศึกษาจากการใช้งานระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ ที่สร้างขึ้น และแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ ที่สร้างขึ้นเมื่อเทียบกับหนังสือทำเนียบรุ่นทั่วไป โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ คือ นักเรียน/นักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดจากนักศึกษาภายในแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน | |
12.วิเคราะห์ข้อมูล | การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการสร้างระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล P แทน ค่าร้อยละ x̄ แทน ค่าเฉลี่ย S.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตร | |
13.ผลของการวิจัย | เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อการใช้งานระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ ( Functional Requirement Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสามารถของระบบในการจัดการลงชื่อเข้าใช้, ความสามารถของระบบในการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว, ความสามารถของระบบในการแสดงข้อมูลข่าวสารที่อ่านได้ง่าย, ความสามารถของระบบในการค้นหารายชื่อศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก และ ความสามารถของระบบในการจัดการข้อมูลการจัดพิมพ์เอกสาร อยู่ในระดับปานกลาง (2) ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ ( Functional Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว, ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรม, ความรวดเร็วของการประมวลผลของระบบ, ความน่าเชื่อถือของระบบ, ความครอบคลุมของโปรแกรมที่พัฒนากับระบบจริง, การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น อยู่ในระดับมาก และ ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว อยู่ในระดับปานกลาง (3) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ ( Usability Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรและรูปภาพ, ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย, ความเหมาะสมในวางตำแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ, คำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย อยู่ในระดับมาก (4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ( Security Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ, การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่าง ๆ, การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้อย่างถูกต้อง, การป้องกันการกำหนดรหัสผ่านอย่างง่าย, การป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดของข้อมูล อยู่ในระดับมาก | |
14.การอภิปรายผล | จากผลการสร้างระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ ( Functional Requirement Test ) , (2) ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ ( Functional Test ) , (3) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ( Usability Test ), (4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ( Security Test ) โดยจุดเด่นของระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ คือ ความสามารถของระบบในการจัดการลงชื่อเข้าใช้ความสามารถของระบบในการจัดการลงชื่อเข้าใช้, ความสามารถของระบบในการแสดงข้อมูลข่าวสารที่อ่านได้ง่าย, ความสามารถของระบบในการค้นหารายชื่อศิษย์เก่า, ความสามารถของระบบในการจัดการข้อมูลการจัดพิมพ์เอกสาร, ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว, ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว, ความถูกต้องของระบบในการบันทึกข้อมูล, ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรบนจอภาพ, ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย, ความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ, การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ, การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนการใช้งานของผู้ใช้ระบบในระดับต่าง ๆ, การควบคุมให้ใช้งานตามสิทธิ์ผู้ใช้อย่างถูกต้อง เราสามารถเก็บบันทึกข้อมูลเว็บไซต์ศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ขึ้นมาเพื่อให้ศิษย์เก่าของเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปนั้นได้ทราบข่าวสารต่างๆ อีกทั้งนี้ยังเป็นตัวกลางในการนำเสนอข้อมูลติดต่อกับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่จบการศึกษาไปแล้วอีกด้วย | |
15.ข้อเสนอแนะ | 16.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ ควรมีการใช้ประโยชน์จากระบบเว็บไซต์ศิษย์เก่าเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ เพื่อใช้เป็นเป็นสื่อกลางในการรวบรวมข้อมูลศิษย์เก่าแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์แพร่ที่จบการศึกษาไปแล้วให้เข้ากันและสอดคล้องกับอุปกรณ์ต่างๆ 16.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป (1) ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะมีการเพิ่มข้อมูลเป็นบางส่วนและแก้ไขข้อมูลที่ยังผิดพลาดอยู่ (2) การจัดเก็บข้อมูลของศิษย์เก่าในด้านการจัดหมวดหมู่และการแก้ไขข้อมูลยังมีปัญหาอยู่ | |
16.บรรณานุกรม | ภาษา CSS. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.w3schools.com /html/html_css.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 18 มิถุนายน 2562). ภาษา HTML. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.w3schools.com /html/default.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 พฤษภาคม 2562). ภาษา JavaScript. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://www.w3schools.com /sql/default.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 1 ธันวาคม 2562). ภาษา PHP. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.w3schools.com /php/default.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2562). ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.w3schools.com/sql/default.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 สิงหาคม 2562). BootStarp. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.w3schools.com /bootstrap4/default.asp. (วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2562). | |
17.ประวัติผู้จัดทำ | ![]() ชื่อ-นามสกุล นาย เจษฎา ถาโถม เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 ที่อยู่ปัจจุบัน 58/3 หมู่ 1 ตำบลป่าแมต อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 6021280027 เบอร์โทร 0800977083 อีเมล gtaman258@gmail.com ![]() ชื่อ-นามสกุล นาย อมรเทพ ท้วมอ้น เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2544 ที่อยู่ปัจจุบัน 77 ตำบลนาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ 54160 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 6021280029 เบอร์โทร 0989676846 อีเมล Amonthap.0989673846@gmail.com | |
18.ลิงค์ยูทูป |