ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การสร้างและหาประสิทธิภาพ ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
2.จัดทำโดย นาย ศิลา นาเมืองรักษ์
นาย ธีรภัทร แก้วกัลยา
3.อีเมลล์ tee0613280473@gmail.com
4.บทคัดย่อ  ชื่อ                 :  นาย ศิลา  นาเมืองรักษ์ นาย ธีรภัทร  แก้วกัลยา
ชื่อเรื่อง           :  การสร้างและหาประสิทธิภาพ ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
สาขางาน         :  สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
คณะวิชา          :  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ที่ปรึกษา          :  กิตติ ไตยทิพยากร
ปีการศึกษา       :  2564
 
                                                                                   บทคัดย่อ
        การทำโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
2) เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน เพื่อใช้เป็นเพื่อใช้นำมาใช้ควบคุมดูแลปลาภายในตู้ในกรณีที่ไม่สะดวก
        ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการโดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ นักศึกษา จำนวน 15 คน บุคคลทั่วไป จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม
        ผลการทำโครงการ พบว่า (1) รูปแบบระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน มีขั้นตอนทั้งหมด 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นการแสดงสถานะข้อมูล ขั้นตอนการควบคุมอุปกรณ์ (2) ประสิทธิภาพระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน  ทั้ง 5 ด้าน มีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง
 
5.บทนำ         เนื่องจากทางเราได้แลเห็นถึงปัญหาในการเลี้ยงปลาสวยงาม ในระยะเวลาหนึ่งที่ประสิทธิภาพของน้ำในตู้ปลามีการเสื่อมสภาพและคุณภาพในน้ำไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาสวยงามที่เหมาะสมพอควร อีกทั้งยังมีปัญหาในการให้ออกซิเจนปลาในน้ำ และยังมีปัญหาในการให้อาหารปลาที่บางครั้งอาจจะไม่มีเวลาในการให้อาหารปลาหรือว่าบางครั้งมีการให้อาหารปลาที่มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาภายหลังได้
        ทางเราจึงได้สร้างระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟนมาใช้ ในการควบคุมการเลี้ยงปลาในตู้ปลาที่เราจะสามารถควบคุมต่างๆผ่านสมาร์ทโฟนได้ดังนี้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ การเติมน้ำ การเปิด-ปิดเครื่องเครื่องปั๊มลม การให้อาหารปลา ควบคุมการให้สารปรับสภาพน้ำ เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถเช็คสถานะค่าต่างๆผ่านสมาร์ทโฟนได้ดังนี้ ค่าปริมาณน้ำในตู้ ค่าความขุ่นของน้ำ ค่า PH ในน้ำ เป็นต้น
        ดั้งนั้นทางเราหวังว่าการนำระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟนมาใช้นี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลตู้ปลาในการควบคุมการเลี้ยงตู้ปลาในการรักษาค่าปริมาณน้ำและคุณภาพของน้ำในการเลี้ยงดูปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้อาหารปลาได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถดูสถานะและควบคุมค่าต่างๆได้ผ่านสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งานง่ายและสะดวก
 
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย 6.1 เพื่อสร้างระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
 
7.ขอบเขตของการวิจัย 7.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ
      นักศึกษาและบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน
7.2  เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา
      7.2.1  ด้านการควบคุมอุปกรณ์ผ่านแอพพลิเคชั่น มีดังนี้
               1)  ความสามารถในการควบคุมปั๊มเติมน้ำตู้ปลามีความเหมาะสม
               2)  ความสามารถในการควบคุมปั๊มน้ำเข้า-ออกตู้ปลามีความเหมาะสม
               3)  ความสามารถในการควบคุมเครื่องให้อาหารปลามีความเหมาะสม
               4)  ความสามารถในการควบคุมปั๊มสารปรับสภาพน้ำมีความเหมาะสม
               5)  ความสามารถในการควบคุมปั๊มออกซิเจนมีความเหมาะสม
      7.2.2  ด้านการแสดงผลผ่านแอพพลิเคชั่น มีดังนี้์
               1)  การแสดงระดับปริมาณน้ำภายในตู้ปลามีความเหมาะสม
               2)  การแสดงระดับความขุ่นของน้ำภายในตู้ปลามีความเหมาะสม
               3)  การแสดงระดับค่า PH มีความเหมาะสม
 7.3  ระยะเวลาในการดำเนินงาน
          ตลอดปีการศึกษา 2564

 
8.สมมติฐาน สามารถนำการสร้างและหาประสิทธิภาพ ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
9.วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างและหาประสิทธิภาพ ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน    มีขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ มีรายละเอียด ดังนี้
1) วิธีการดำเนินโครงการ
2) วิเคราะห์สภาพปัญหา
3) ข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรม
4) การออกแบบนวัตกรรม
5) การทดสอบระบบ
6) การออกแบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม
7) การออกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานนวัตกรรม
8) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
9) การเก็บรวบรวมข้อมูล
10) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ นักเรียนนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และบุคคลทั่วไป จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ระบบควบคุมตู้ปลาผ่านสมาร์ทโฟน คือ นักเรียนนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์โดยกำหนดจากการทดลองใช้งานจำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ระบบควบคุมตู้ปลาผ่านสมาร์ทโฟน คือ บุคคลทั่วไปโดยกำหนดจากการใช้งานจำนวน 5 คน
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ 11.1  ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
11.2  แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้งาน  ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำโครงการเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของผู้วิจัยและเจ้าของตู้ปลา ต่อการใช้งานระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน ที่สร้างขึ้น และแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน คือนักศึกษาจำนวน 15 คน เเละเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน คือ บุคคลทั่วไป จำนวน 5 คน
12.วิเคราะห์ข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการสร้างระบบคณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และหาค่าสถิติ ดังนี้
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          P     แทน  ร้อยละ
          x̅     แทน  ค่าเฉลี่ย
          S.D. แทน  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
13.ผลของการวิจัย         เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อการใช้งานระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์โฟน มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับน้อย แบ่งเป็นการทดสอบ4 ด้าน ดังนี้
         (1)   ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ ( Functional Requirement Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสามารถในการควบคุมเครื่องให้อาหารปลา, ความสามารถในการควบคุมปั๊มสารปรับสภาพน้ำ, ความสามารถในการควบคุมปั๊มออกซิเจน, อยู่ในระดับปานกลาง, ความสามารถในการรับข้อมูลจากโมดูลเซ็นเซอร์วัดปริมาณน้ำ, การแสดงระดับปริมาณน้ำภายในตู้ปลา, การแสดงระดับความขุ่นของน้ำภายในตู้ปลา, การแสดงระดับค่า PH  อยู่ในระดับน้อย การรับข้อมูลจากโมดูลเซ็นเซอร์ PH, ความสามารถในการรับข้อมูลจากโมดูลเซ็นเซอร์วัดความขุ่น, อยู่ในระดับน้อยที่สุด
         (2)   ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ ( Functional Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความถูกต้องในการใช้งานระบบด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ, ความถูกต้องของระบบในการดูสถานะค่า PH, ความถูกต้องของระบบในการดูค่าปริมาณน้ำ อยู่ในระดับน้อย
         (3)   ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ ( Usability Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ, ความง่ายต่อการใช้งาน, ความเหมาะสมของขนาดตัวอักษร อยู่ในระดับน้อย
         (4)  ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ( Security Test ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า การป้องกันการเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์  อยู่ในระดับน้อย
 
14.การอภิปรายผล         จากผลการสร้างระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ ( Functional Requirement Test ), 2) ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ ( Functional Test ) , 3) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ( Usability Test ), 4) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ ( Security Test ) โดยจุดเด่นของระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน คือ พบว่าความสามารถของระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ทโฟน คือความสามารถของระบบในการทำงานของเครื่องให้สารปรับสภาพน้ำ, ความสามารถของระบบในการทำงานของหลอดไฟ, ความสามารถของระบบในการให้อาหารปลา, ความถูกต้องของระบบในการดูค่าสถานะ PH, ความถูกต้องของระบบในการดูค่าปริมาณน้ำ อีกทั้ง
เรายังเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานโดยการควบคุมทำงานของระบบต่างๆโดยผ่านแอพพลิเคชั่น อีกทั้งยังสามารถนำระบบที่สร้างมานี้ไปต่อยอดเพิ่มในอนาคตได้อีกมากมาย

 
15.ข้อเสนอแนะ 16.1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
         ควรมีความรู้เกี่ยวกับค่า PH และค่าความขุ่นของน้ำในการใช้ประโยชน์จากระบบควบคุมตู้ปลาด้วยสมาร์ท
โฟนแบบสูงสุดต่อไป
16.2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
         1)  ส่วนของการอ่านค่าสถานจากโมดูลยังไม่สมบูรณ์
         2)  ส่วนของการใช้งานฟังก์ชันยังไม่ค่อยสมบูรณ์
         3)  ส่วนของความปลอดภัยยังไม่ค่อยสมบูรณ์
         4)  ควรมีการเพิ่มชุดคำสั่งแบบแมนนวลเพื่อควบคุมตู้ปลาในกรณีที่สมาร์ทโฟนหาย
         5)  ควรเพิ่มความสามารถในการควบคุมผ่านระบบออนไลน์
 
16.บรรณานุกรม         การเลี้ยงปลาสวยงาม (2564) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://human.srru.ac.th/2016
/08/15/วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม/ (วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2564)
        การใช้ IOT Cloud (2564) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://blog.arduino.cc/2019
/02/06/announcing-the-arduino-iot-cloud-public-beta/?fbclid=IwAR258Os-8AZK-Gi09
U0VPkvXPDQWO8OFdPwKiWx8hLQFhO2HSSSdMz6u6Nw (วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2564)
        การ Internet of Things (2564) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://tips.thaiware.com/1809.html
(วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2564)
        การใช้ Arduino  (2564) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://blog.thaieasyelec.com/what-is-arduino-ch1/ (วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2564)
        อาหารปลา (2564) [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttps://home.kku.ac.th/pracha/Food.htm
(วันที่สืบค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2564)
 
17.ประวัติผู้จัดทำ
18.ลิงค์ยูทูป