
บทความโครงการนักศึกษา
|
||
1.ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) | |
2.จัดทำโดย | นาย ณัฐภัทร เจริญกิจหัตถกร นาย โอภาสพันธ์ กลิ่นชื่นจิต | |
3.อีเมลล์ | koonimpan555@gmail.com | |
4.บทคัดย่อ | ชื่อ : นาย ณัฐภัทร เจริญกิจหัตถกร นาย โอภาสพันธ์ กลิ่นชื่นจิต ชื่อเรื่อง : การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) เพื่อสั่งจองวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ สาขาวิชา : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางาน : คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ที่ปรึกษา : แดงต้อย คนธรรพ์ ปีการศึกษา : 2564 การทำโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) (2) ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) เพื่อสั่งจองวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System)โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการโดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 5 คน นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 5 รวมทั้งหมด 10 คน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม ผลการทำโครงการ พบว่า 1) รูปแบบระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) มีขั้นตอนทั้งหมด 25 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการสมัครเข้าใช้งาน ขั้นตอนการลงชื่อเข้าใช้งาน ขั้นตอนการแสดงสถิติรายวัน ขั้นตอนการแก้ไขโปรไฟล์ ขั้นตอนการค้นหาวัคซีน ขั้นตอนการสั่งจองวัคซีน ขั้นตอนการชำระเงินแสกนคิวอาร์โค้ด ขั้นตอนการส่งหลักฐานการชำระเงิน ขั้นตอนการตั้งค่าโรงพยาบาล ขั้นตอนการจัดการบัญชีธนาคารของโรงพยาบาล ขั้นตอนการจัดการรอบจองวัคซีน ขั้นตอนการเพิ่มรอบจองวัคซีน ขั้นตอนการแก้ไขรอบจองวัคซีน ขั้นตอนการตรวจสอบออเดอร์ ขั้นตอนการแก้ไขออเดอร์ ขั้นตอนการอนุมัติการชำระเงิน ขั้นตอนการนัดฉีดวัคซีน ขั้นตอนการจัดการผู้ใช้งาน ขั้นตอนการเพิ่มผู้ใช้ ขั้นตอนการแก้ไขผู้ใช้ ขั้นตอนการจัดการร้านโรงพยาบาล ขั้นตอนการเพิ่มร้านโรงพยาบาล ขั้นตอนการแก้ไขร้านโรงพยาบาล ขั้นตอนการเพิ่มผู้ใช้งานร้านโรงพยาบาล ขั้นตอนการแก้ไขผู้ใช้งานร้านโรงพยาบาล 2) รูปแบบระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) ทั้ง 4 ด้าน มีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับมาก | |
5.บทนำ | ณ ปัจจุบันนี้ปัญหาโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งทำให้เกิดการใช้ชีวิตวิถีใหม่หรือที่เรียกกันว่าว่า "New-Normal" ซึ่งไวรัสโควิด-19 นั่นมีความรุนแรงที่สามารถแพร่กระผ่านสารคัดหลั่งและละอองต่างๆได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้ยังสามารถกระจายเข้าสัตว์และผ่านน้ำและซากสิ่งมีชีวิตซึ่งถ้าสิ่งเหล่านี้มีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่จะยังสามารถกระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้อยู่ดังนั้นทั่วโลกจึงคิดค้นวัคซีนที่จช่วยลดความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นวัคซีนแบบเร่งด่วนซึ่งได้มีหลายแบบให้เลือกซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีประสิทธิภาพและผลข้างเคียงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตของวัคซีนนั้นๆและเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นมีความสามารถในการกลายพันธุ์ที่สามารถเพิ่มความสามารถในการแพร่กระจายได้มากขึ้น เนื่องจากปัญหาไวรัสโควิด-19 จึงทำให้เราเกิดความคิดขึ้นมาในการจองวัคซีนในโรงพยาบาลต่างๆและสามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนที่ผู้ใช้ต้องการจะฉีดได้โดยไม่ต้องมีการบังคับให้ฉีดวัคซีนที่ไร้ประสิทธิภาพและไม่สามารถกันผลร้ายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ดังนั้นผู้ใช้ทุกคนควรจะได้รับการฉีดวัคซีนโดยสมัครใจและเลือกชนิดและสถานที่ที่ต้องการจะฉีดซึ่งวัคซีนที่ดีนั้นควรมีผลการวิจัยมารองรับเพื่อให้ร่างกายนั้นสามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ใช้ในการกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้และควรเข้ากับชีวิตวิถีใหม่โดยการไม่ต้องไปเจอหน้ากันและลดการพบปะที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องไปพื้เม็ดนที่เสี่ยงและหลีกเลี่ยงการไปพื้นที่ที่แออัดได้อีกด้วยแต่ทั้งนี้การฉีดวัคซีนนั้นต่อให้ครบสองเข็มยังสามารถติดไวรัสโควิด-19ได้อยู่จึงจำเป็นต้องให้ประชากรฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ดั้งนั้นปัญหาในการจองวัคซีนข้างต้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการลดปัญหาที่ในการจองวัคซีนและลดปัญหาในการพบปะและการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่แออัดผู้วิจัยจึงดำเนินการสร้างระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) ที่สามารถเลือกฉีดวัคซีนได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการและสามารถเลือกสถานที่ที่ผู้ใช้ต้องการที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19เพื่อให้ผู้ใช้นั้นได้เลือกวัคซีนที่ผู้ใช้นั้นมั่นใจและเพื่อลดอัตตราการเสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 จึงจำเป็นต้องให้ประชากรทั้งหมดนั้นได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งนี้ระบบนี้สามารถใช้ในการต่อยอดเพื่อในอนาคตสามารถจองวัคซีนอื่นได้นอกจากวัคซีนโควิด-19 ในอนาคตได้อีกมากมายและเมื่อประชากรทั้งหมดฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเกิดภูมคุ้มกันหมู่ขึ้นแล้วเราจะได้ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากและได้เห็นคนที่เรารักได้ทุกที่ทุกเวลา | |
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย | 6.1 เพื่อสร้างระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) 6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) | |
7.ขอบเขตของการวิจัย | 7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่และบุคลากรทางการแพทย์ 7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา 1. การสั่งจองวัคซีน รายละเอียดข้อมูลของการสั่งจองวัคซีนมีดังนี้ 1) ผู้ใช้ 1 คนสามารถจองวัคซีนได้ 1 ครั้งต่อ 1 ผู้ใช้ (การสมัครบัญชีใช้เลขบัตรประจำตัประชาชน 13 หลัก) 2) มียอดสถิติรายวันให้ดู เช่น ยอดผู้ติดเชื้อวันนี้ ยอดผู้เสียชีวิตสะสม เป็นต้น 3) ผู้สั่งจองสามารถเลือกจังหวัดและยี่ห้อวัคซีนที่ต้องจะค้นหาได้ 4) ระบบจะแสดงโรงพยาบาล ตามจังหวัดและวัคซีนที่ผู้สั่งจองเลือก สถานะจำนวนจองคงเหลือจะแสดงเป็นสีกับตัวเลข 5) สามารถกำหนดวันนัดหมายเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ 6) การชำเงินระบบจะแสดง QR CODE ของโรงพยาบาล 7) หลังจากชำระเงินแล้วระบบจะขึ้นสถานะรอตรวจสอบ 8) เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วระบบจะขึ้น QR CODE ให้เซฟ QR CODE และนำไปแสดงในวันนัดหมายเข้ารับการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล 2. การจัดการโรงพยาบาล (ฝั่งโรงพยาบาล) รายละเอียดข้อมูลของการจัดการโรงพยาบาล มีดังนี้ 1) การจัดการข้อมูล 1.1) ระบุข้อมูลโรงพยาบาล เช่น ที่อยู่ ช่องทางติดต่อ เป็นต้น 1.2) สร้างรอบจองวัคซีน 1.3) ระบุยี่ห้อวัคซีนในรอบจองนั้น 1.4) กำหนดจำนวนคิวจองสูงสุดในแต่ละรอบ 1.5) ระบุข้อมูลของวัคซีนแต่ละตัว เช่น ผลข้างเคียง ป้องกันสายพันธ์อะไรได้บ้าง เป็นต้น 2) การจัดการคิวจองวัคซีน 2.1) ระบบจะแสดงรายชื่อผู้ลงทะเบียนจองวัคซีนของโรงพยาบาล 2.2) เมื่อกดเข้าไปดูรายชื่อจะแสดงยี่ห้อวัคซีนและวันนัดหมายของผู้ลงทะเบียน 2.3) หลังจากดูรายละเอียดและตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ระบบจะให้กำหนดเวลานัดหมายและแสดงปุ่มอนุมัติ 2.4) ระบบอ่าน QR CODE ของผู้ลงลงทะเบียนจองวัคซีน 7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2564 | |
8.สมมติฐาน | สามารถนำการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System)ไปใช้จริงได้ | |
9.วิธีดำเนินการวิจัย | การสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1) วิธีการดำเนินโครการ 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุง 3) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 4) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนา 5) หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 6) ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม/การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 7) สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ 8) ทดสอบนวัตกรรมที่สร้างขึ้น 9) แก้ไขปรับปรุงนวัตกรรม 10) ใช้นวัตกรรม 11) การสร้างแบบประเมินนวัตกรรม | |
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | 1) ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 10 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 10 คน กลุุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ บุคลากรทางการแพทย์ โดยกำหนดจาก ผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านเขียนซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาลและอสม จำนวน 5 คน กลุุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ บุคลากรทางการแพทย์ โดยกำหนดจาก ผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านเขียนซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาลและอสม จำนวน 5 คน | |
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | 11.1 ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) 11.2 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อการใช้งาน ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) | |
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้าทดสอบการใช้งานที่ใช้ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System)ที่สร้าง และแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System)ที่สร้างขึ้นเมื่อเทียบระบบจองวัคซีนที่โรงพยาบาลสร้างขึ้นโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine Systemนักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ บุคลากรทางการแพทย์ โดยกำหนดจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านเขียนซอฟต์แวร์ กับเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาลและอสม. จำนวน 5คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้ระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System)คือ นักศึกษาสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ บุคลากรทางการแพทย์ โดยกำหนดจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านเขียนซอฟต์แวร์ กับเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาลและอสม. จำนวน 5คน | |
12.วิเคราะห์ข้อมูล | การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการสร้างระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล P แทน ร้อยละ x̅ แทน ค่าเฉลี่ย S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน | |
13.ผลของการวิจัย | เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อการใช้งานระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความเหมาะสมในการสมัครเข้าใช้งาน, ความเหมาะสมการแก้ไขโปรไฟล์ข้อมูลของผู้จองวัคซีน, ความเหมาะสมในการสั่งจองวัคซีน, ความง่ายต่อการในการสั่งจองวัคซีน, ความเหมาะสมในการส่งหลักฐานการชำระเงิน, ความง่ายต่อการส่งหลักฐานการชำระเงิน, ความเหมาะสมในการจัดการข้อมูลของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการในการจัดการข้อมูลของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลบัญชีธนาคารของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลบัญชีธนาคารของโรงพยาบาล, ความเหมาะสมในการจัดการข้อมูลวัคซีน, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลวัคซีน, ความเหมาะสมในการสร้างรอบคิวจองวัคซีน, ความง่ายต่อการสร้างรอบคิวจอบวัคซีนอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการประมวลผล เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความง่ายต่อการค้นหาโรงพยาบาลเพื่อจองวัคซีน, ความง่ายต่อการสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อแสดงข้อมูลออเดอร์จองวัคซีน, ความเหมาะสมในการจัดการคิวจอง, ความง่ายต่อการจัดการคิวจอง อยู่ในระดับมาก 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความเหมาะสมในการแสดงข้อมูลสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวัน, ความเหมาะสมในการแสดงสถานะการจองของผู้จองวัคซีน, ความเหมาะสมในการใช้สีของระบบ RVS, ความเหมาะสมในการใช้ตัวอักษรของระบบ RVS อยู่ในระดับมาก 4) ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ, การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก | |
14.การอภิปรายผล | จากผลการสร้างระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล , 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ, 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) คือ ความเหมาะสมในการสมัครเข้าใช้งาน, ความเหมาะสมการแก้ไขโปรไฟล์ข้อมูลของผู้จองวัคซีน, ความเหมาะสมในการสั่งจองวัคซีน, ความง่ายต่อการในการสั่งจองวัคซีน, ความเหมาะสมในการส่งหลักฐานการชำระเงิน, ความง่ายต่อการส่งหลักฐานการชำระเงิน, ความเหมาะสมในการจัดการข้อมูลของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการในการจัดการข้อมูลของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลบัญชีธนาคารของโรงพยาบาล, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลบัญชีธนาคารของโรงพยาบาล, ความเหมาะสมในการจัดการข้อมูลวัคซีน, ความง่ายต่อการจัดการข้อมูลวัคซีน, ความเหมาะสมในการสร้างรอบคิวจอบวัคซีน, ความง่ายต่อการสร้างรอบคิวจอบวัคซีน,ความง่ายต่อการค้นหาโรงพยาบาลเพื่อจองวัคซีน, ความง่ายต่อการสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อแสดงข้อมูลออเดอร์จองวัคซีน., ความเหมาะสมในการจัดการคิวจอง,ความง่ายต่อการจัดการคิวจอง, ความเหมาะสมในการแสดงข้อมูลสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวัน,ความเหมาะสมในการแสดงสถานะการจองของผู้จองวัคซีน, ความเหมาะสมในการใช้สีของระบบ RVS, ความเหมาะสมในการใช้ตัวอักษรของระบบ RVS, การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ, การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก เราสามารถค้นหาสั่งจองวัคซีนจากโรงพยาบาลโดยเลือกจังหวัดกับยี่ห้อของวัคซีนที่ต้องการฉีดได้แล้วยังสามารถดูสถานะปัจจุบันของการจองวัคซีนได้โดยผู้จองจะได้คิวอาร์โค้ดที่เก็บข้อมูลของผู้จองจากนั้นทางฝั่งโรงพยาบาลนั้นจะสามารถแก้ไขข้อมูลของโรงพยาบาลทำการเพิ่มรอบจองวันซีน แก้รอบจองวัคซีน ตรวจสอบออเดอร์ที่ทำการจองวัคซีนเข้ามาได้และอนุมัติออเดอร์ของผู้จองวัคซีน | |
15.ข้อเสนอแนะ | 16.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ ควรมีการใช้ประโยชน์จากระบบสั่งจองวัคซีน Covid-19 RVS (Reserve Vaccine System) เพื่อสั่งจองวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ ที่พัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรใช้ในการสั่งจองวัคซีน เพื่อเป็นการที่ผู้จองวัคซีนเลือกจังหวัดกับยี่ห้อวัคซีนในการฉีดได้ทางฝั่งโรงพยาบาลจะสามารถเพิ่มรอบจองวัคซีนตามความสะดวกของโรงพยาบาลได้ 16.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะมีการเพิ่มข้อมูลเป็นบางส่วนและแก้ไขข้อมูลที่ยังผิดพลาดอยู่ | |
16.บรรณานุกรม | ทรูปลูกปัญญา.//(2554).//Android (แอนดรอยด์) คืออะไร ?.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www.trueplookpanya.com/blogdiary/3049 นาง ณัฎฐวรรณ คำแสน.//(2547).//ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564 มหาวิทยาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก .//(2563).//โควิด-19 คือ อะไร?.//สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564./จาก/https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ knowledge-2/covid19is/ ยศตีระวัฒนานนท์และคณะ.//(2564).//การประเมินผลกระทบและความคุ้มค่าของวัคซีนโควิดที่พึงประสงค์ เพื่อใช้ในการพัฒนาและคัดเลือกวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทย.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564 รศ. พญ. พรรณพิศ สุวรรณกูล.//(2564).//รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19.//สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www.bangkokhospital.com/content/know-well-before-getting- the-covid-19-vaccine อศิครินทร์.//(2564).// วัคซีนโควิดมีกี่ชนิด? .//สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www .sikarin.com/health/วัคซีนโควิดมีกี่ชนิด AdmissionPremium.//(2560).//Mobile Application คืออะไร?.//สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www.admissionpremium.com/it/news/1852 Afmis.//(2560).// What is MongoDB?.//สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564./จาก/https://sysadmin.psu .ac.th/2017/01/11/what-is-mongodb/ Hizoka.//(2561).//มาทำความรู้จักกับ Flutter กันเถอะ.//สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564./จาก/https://me dium.com/@hizokaz/มาทำความรู้จักกับ-flutter-กันเถอะ-4dca2ad634bd Marcuscode.//(2563).//แนะนำภาษา JavaScript.//สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564./จาก/http://marcus code.com/lang/javascript/introducing-to-javascript Mindphp.//(2560).//รู้จักกับ Visual Studio Code.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www.mindphp.com/บทความ/microsoft/4829-visual-studio-code.html Natk.//(2560).//Invision DSM สร้างระบบ Design system ให้ใช้งานง่ายและรวดเร็ว.//สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม2564./จาก/https://www.designil.com/design-system-manager-invision/ Piyadanai.//(2555).//พื้นฐานภาษา HTML?.//สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564./จาก/https://krupiyadanai .wordpress.com/บทเรียน-html/รู้จักภาษา-html/ Palm.//(2561).//เริ่มต้นสร้าง Android Application พื้นฐานด้วย Android Studio.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/https://medium.com/@palmz/เริ่มต้นสร้าง-android-application- พื้นฐานด้วยandroid-studio-lab- 3sb04-3fda43b07a1 Saixiii.//(2560).//JSON คืออะไร.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/https://saixiii.com/what-is-json/ TawanAit.//(2562).//Angular คือ อะไรกัน.//สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564./จาก/https://tawantawan 1997.medium.com/angular-คือ-อะไรกัน-cb24bbcc3e82 TanapojChaivanichanan.//(2555).//ทำความรู้จักภาษา Dart ฉบับโปรแกรมเมอร์.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/https://www.centrilliontech.co.th/blog/2570/dart-101-introduction-for- programmers/ Wynnsoft.//(2559).//CSS คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง.//สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564./จาก/ https://www.wynnsoft-solution.net/th/article/view/80/ | |
17.ประวัติผู้จัดทำ | ![]() ชื่อ-นามสกุล นาย ณัฐภัทร เจริญกิจหัตถกร เกิดเมื่อวันที่ 06 สิงหาคม 2544 ที่อยู่ปัจจุบัน 27/2-3 ถ.ราษฎร์ดำเนินต.ในเวียงอ.เมืองจ.แพร่ วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ รหัสนักศึกษา 63301280004 เบอร์โทร 0857197997 อีเมล fixnattapat@gmail.com ![]() ชื่อ-นามสกุล นายโอภาสพันธ์ กลิ่นชื่นจิต เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 ที่อยู่ปัจจุบัน 69/4 หมู่1 ต.เหมืองหม้อ ถ.นาแหลม-โป่งศรี อำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่ วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ รหัสนักศึกษา 63301280016 เบอร์โทร 0984167736 อีเมล koonimpan555@gmail.com | |
18.ลิงค์ยูทูป |