
บทความโครงการนักศึกษา
|
|||||||||||||||
1.ชื่อโครงการ | การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการงานแนะแนว | ||||||||||||||
2.จัดทำโดย | นาย รัชพล ทรายอินทร์ | ||||||||||||||
3.อีเมลล์ | ratchaponmat005@gmail.com | ||||||||||||||
4.บทคัดย่อ |
ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบบริหารจัดการงานแนะแนว โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการโดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ อาจารย์ จำนวน 5 คน นักเรียน,นักศึกษา จำนวน 25 รวมทั้งหมด 30 คน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม ผลการทำโครงการ พบว่า การสร้างระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล , 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ, 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของรระบบบริหารจัดการงานแนะแนว () คือ ความสามารถการเข้าสู่ระบบ, ความสามารถการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความสามารถในอนุมัติผู้สมัครเข้าใช้งานระบบ, ความสามารถการแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความสามรถการเพิ่มแก้ไขโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความสามารถในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการสำเร็จการศึกษารายปี, ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ, ความถูกต้องในการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความถูกต้องในการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความถูกต้องในการสรุปการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความถูกต้องในการติดตามหลังการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความสะดวกในการใช้งานระบบ, ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง, การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ, การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ, ความสะดวกในการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด | ||||||||||||||
5.บทนำ | เนื่องด้วยทางโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เกือบทุกโรงเรียน มีนักเรียนศิษย์เก่าที่จบการศึกษาหลายรุ่น มีทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ผู้ที่มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่งจำนวนมาก ทางงาน แนะแนวของโรงเรียนมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสาร ที่เสี่ยงต่อการสูญหายและชำรุด ทำให้ทางงานแนะแนวของโรงเรียนอยากมีระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศดังกล่าว ให้สามารถสืบค้นข้อมูลนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในปัจจุบันและศิษย์เก่าที่จบไปแล้ว เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศมาตรวจสอบ จัดทำรายงานและสถิติ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน การส่งเสริมทักษะอาชีพ การแนะแนวศึกษาต่อของนักเรียน ซึ่งทางงานแนะแนวของโรงเรีนรมีความจำเป็นที่จะจัดเก็บและติดตามข้อมูลนักเรียนทั้งที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและที่กำลังศึกษา เพราะเนื่องจากนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้วทางงานแนะแนวไม่สามารถติดตามประเมินผลได้ว่าทางนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากทางโรงเรียนมีประวัติการศึกษาต่อหรือประสมความสำเร็จในสาขาอาชีพใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการแนะแนวนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในการประกอปการตัดสินใจในการศึกษาต่อ อีกทั้งทางโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากทำให้ยากต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ดังนั้นในส่วนของปัญหาดังกล่าวข้างต้นทาง ผู้จัดทำมีแนวคิดในการสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดเก็บและจัดการกับข้อมูลนักเรียนที่มีปริมาณที่มาก เพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บมีความปลอดภัยและนำข้อมูลที่จัดเก็บไปใช้ได้อย่างสะดวกในด้านต่างๆ และใช้ระบบออนไลน์เพื่อให้ผู้ที่กำลังศึกษาเข้าถึงระบบได้และช่วยให้ศิษย์เก่าสามารถติดต่อกับสถานศึกษาได้สะดวกและรวดเร็วผ่านทางระบบ กรณีที่ทางผู้ศิษย์เก่ามีแนวทางการศึกษาต่อไปเสนอกับทางงานแนวเพื่อไปแนะแนวกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ได้มีแนวทางในการประกอปการตัดสินใจ | ||||||||||||||
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย | 6.1 เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการงานแนะแนว 6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการงานแนะแนว | ||||||||||||||
7.ขอบเขตของการวิจัย | 7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากร ได้แก่ นักเรียนและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้นๆ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อทดลองใช้ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ 7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการงานแนะแนว มีความสามารถ ดังนี้ 1) สามารถนำเข้าข้อมูลการจบการศึกษาของนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาจากโปรแกรม DMC ( ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ) 2) ผู้ใช้เข้าใช้งานโดยใช้รหัสประจำตัวประชาชนของตนเอง 3) นักเรียนสามารถบันทึกและอัพเดท ข้อมูลของตนเองได้ตลอดเวลา 4) เป็นเว็บประชาสมพันธ์ข่าวสารสำหรับงานแนะแนวและข่าวสารโรงเรียน 5) มีโควตาที่ทางโรงเรียนได้รับมาจากมหาวิทยาและวิทยาลัยต่างๆ 6) มีการแนะนำมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ และคณะต่างๆที่เปิดสอน 7) สามารถสรุปรายงานการสำเร็จการศึกษาและรายละเอียดการศึกษาต่อ ทั้งสถาบันและคณะ และประวัติการทำงาน 8) ศิษย์เก่าสามารถสมัครเข้าใช้งานระบบได้และบันทึกข้อมูลรายละเอียดการทำงานได้ 9) ศิษย์เก่าสามารติดต่อกับงานแนะแนวได้ 10) สถิติเปรียบเทียบการจบการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา 11) สถิติเปรียบเทียบการศึกษาต่อในแต่ละปีการศึกษา 7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2564 | ||||||||||||||
8.สมมติฐาน | สามารถนำระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) ไปใช้จริงได้ | ||||||||||||||
9.วิธีดำเนินการวิจัย | การสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1) วิธีดำเนินโครงการ 2) วิเคราะห์สภาพปัญหา 3) ข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรม 4) การออกแบบนวัตกรรม 5) การทดสอบระบบ 6) การออกแบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม 7) การออกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม 8) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9) การเก็บรวบรวมข้อมูล 10) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล | ||||||||||||||
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | ประชากร ได้แก่ ครู นักเรียนและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้นๆ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ทดสอบใช้ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ได้แก่ ครูผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ทดลองใช้ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ จำนวน 20 คน | ||||||||||||||
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | 11.1 ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) 11.2 แบบประเมินความคิดเห็นของแอดมินและผู้ใช้งาน ที่มีต่อการใช้งาน ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) | ||||||||||||||
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้าทดสอบการใช้งานที่ใช้ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system )ที่สร้าง และแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) ได้แก่ ครูผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ 2ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1 โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ จำนวน 20 คน | ||||||||||||||
12.วิเคราะห์ข้อมูล | การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการสร้างระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล P แทน ร้อยละ x̅ แทน ค่าเฉลี่ย S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน | ||||||||||||||
13.ผลของการวิจัย | สรุปผลการวิจัยจากการทดลองใช้ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) กับกลุ่มตัวอย่างได้ผลดังนี้ 1. พิจารณาความคิดเห็นของ Admin ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสามารถการเข้าสู่ระบบ, ความสามารถการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความสามารถในอนุมัติผู้สมัครเข้าใช้งานระบบ, ความสามารถการแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความสามรถการเพิ่มแก้ไขโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความสามารถในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการสำเร็จการศึกษารายปี อยู่ในระดับมากที่สุด และความสามารถการแก้ไข เพิ่มข้อมูลส่วนตัว สามารถอัพเดทได้ตลอดเวลา, ความสามารถการสรุปการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความสามารถการติดตามหลังการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความสามารถในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการติดตามหลังสำเร็จการศึกษารายปี อยู่ในระดับมาก 1.2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ, ความถูกต้องในการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความถูกต้องในการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความถูกต้องในการสรุปการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความถูกต้องในการติดตามหลังการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี อยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้องในการจัดการข้อมูลส่วนตัว, ความถูกต้องในอนุมัติผู้สมัครเข้าใช้งานระบบ, ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ, ความถูกต้องในการเพิ่มแก้ไขโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความถูกต้องในการเพิ่มแก้ไขข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความถูกต้องในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการสำเร็จการศึกษารายปี, ความถูกต้องในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการติดตามหลังสำเร็จการศึกษารายปี อยู่ในระดับมาก 1.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสะดวกในการใช้งานระบบ, ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง อยู่ในระดับมากที่สุด และการเลือกใช้สีสันการออกแบบเว็บไซต์มีความเหมาะสม, ความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม, ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ, ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 1.4 ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ, การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และการควบคุมการใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ระบบบริหารจัดการงานแนะแนว มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสามารถสมัครเข้าใช้งานระบบได้, ความสามารถการเข้าสู่ระบบ, ความสามารถการแก้ไข และเพิ่มข้อมูลส่วนตัว สามารถอัพเดทได้ตลอดเวลา, ความสามารถการแสดงข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวและข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความสามรถการแสดงโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความสามารถการแสดงข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความสามารถการแสดงข้อมูลศิษย์เก่าในแต่สถานศึกษาได้ อยู่ในระดับมาก 2.2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ พบว่า ความถูกต้องในการสมัครเข้าใช้งานระบบ, ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ, ความถูกต้องในการจัดการข้อมูลส่วนตัว, ความถูกต้องในการแสดงแสดงข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวและข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความถูกต้องในการแสดงโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความถูกต้องในการแสดงข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความถูกต้องในการแสดงข้อมูลศิษย์เก่าในแต่สถานศึกษาได้ อยู่ในระดับมาก 2.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ พบว่า ความสะดวกในการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และการเลือกใช้สีสันการออกแบบเว็บไซต์มีความเหมาะสม, ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง, ความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม, ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ, ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2.4 ด้านการใช้งานรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ พบว่า การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ, การควบคุมการใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง, การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก | ||||||||||||||
14.การอภิปรายผล | จากผลการสร้างระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล , 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ, 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของรระบบบริหารจัดการงานแนะแนว () คือ ความสามารถการเข้าสู่ระบบ, ความสามารถการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความสามารถในอนุมัติผู้สมัครเข้าใช้งานระบบ, ความสามารถการแก้ไขข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความสามรถการเพิ่มแก้ไขโควตาที่ทางสถานศึกษาได้รับรับจากทางมหาวิทยาลัย, ความสามารถการเพิ่มแก้ไขข้อมูลมหาวิทยาลัยที่แนะนำกับนักเรียน, ความสามารถในการสรุปเปรียบเทียบสถิติการสำเร็จการศึกษารายปี, ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ, ความถูกต้องในการเพิ่มผู้ใช้งานโดยการนำเข้าไฟล์ Excel เพิ่มผ่านระบบรายบุคคล, ความถูกต้องในการเพิ่มแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารงานแนะแนวข่าวสารจากทางสถานศึกษา, ความถูกต้องในการสรุปการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความถูกต้องในการติดตามหลังการสำเร็จการศึกษาในแต่ละปี, ความสะดวกในการใช้งานระบบ, ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง, การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ, การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ, ความสะดวกในการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้จัดทำมีแนวคิดในการสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดเก็บและจัดการกับข้อมูลนักเรียนที่มีปริมาณที่มาก เพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บมีความปลอดภัยและนำข้อมูลที่จัดเก็บไปใช้ได้อย่างสะดวกในด้านต่างๆ และใช้ระบบออนไลน์เพื่อให้ผู้ที่กำลังศึกษาเข้าถึงระบบได้และช่วยให้ศิษย์เก่าสามารถติดต่อกับสถานศึกษาได้สะดวกและรวดเร็วผ่านทางระบบ กรณีที่ทางผู้ศิษย์เก่ามีแนวทางการศึกษาต่อไปเสนอกับทางงานแนวเพื่อไปแนะแนวกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ได้มีแนวทางในการประกอบการตัดสินใจ | ||||||||||||||
15.ข้อเสนอแนะ | 16.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ ควรมีการใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการงานแนะแนว ( Guidance management system ) กับนักเรียนนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการประกอปการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อและเพื่อบันทึกข้อมูลการติดตามนักเรียนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา 16.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรเพิ่มส่วนของการโชว์ข้อมูลศิษย์เก่าในแต่ละสถานศึกษา 2) ปรับปรุงส่วนของกราฟสรุปข้อมูลที่ยังไม่สามารถโชว์ข้อมูลจริงได้ 3) การบล็อกไฟล์ในการอัพโหลดรูปภาพและการนำเข้าผู้ใช้งาน | ||||||||||||||
16.บรรณานุกรม | หลักการออกแบบฐานข้อมูล(2564) เข้าถึงได้จาก http://123456789ton.blogspot.com (วันที่สืบค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2565) ภาษา SQL (2564) เข้าถึงได้จาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/2940 (วันที่สืบค้นข้อมูล 4 เมษายน 2565) การเชื่อต่อเว็บไซต์กับฐานข้อมูล (2564) เข้าถึงได้จาก https://www.geeksforgeeks.org/how-to-insert-form-data-into-database-using-php (วันที่สืบค้นข้อมูล 4 เมษายน 2565) การตกแต่งหน้าเว็บ (2564) เข้าถึงได้จาก https://getbootstrap.com/docs/5.0/getting-started/introduction (วันที่สืบค้นข้อมูล 4 เมษายน 2565) การแก้ปัญหาการสร้างเว็บ (2564) เข้าถึงได้จาก https://www.devdit.com (วันที่สืบค้นข้อมูล 4 เมษายน 2565) | ||||||||||||||
17.ประวัติผู้จัดทำ | ![]()
| ||||||||||||||
18.ลิงค์ยูทูป |