ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์
2.จัดทำโดย นาย พลพัต ทรวงหิรัญ
นางสาว พอฤทัย ชมภูมิ่ง
3.อีเมลล์ PhonlapatS.2002@gmail.com penpieapple014@gmail.com poruthai2002@hotmail.com
4.บทคัดย่อ                ผู้จัดทำโครงการได้สร้างรูปแบบระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) โดยศึกษาระเบียบข้อกำหนดในการการเรียนการสอนวิชาโครงการ โดยศึกษาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) คือ ผู้ดูแลระบบ จำนวน 2 คน ผู้ดูแลระบบ จำนวน 3 คน และสมาชิกหรือลูกค้า จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 15 คน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า ประสิทธิภาพของนวัตกรรม
               จากผลการสร้างระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อ จัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการ ทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบ คลังสินค้าออนไลน์ เพื่อจัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า คือ ความสามารถการเพิ่ม ข้อมูลสมาชิก ความสามารถการเพิ่มข้อมูลประเภทสินค้า ความสามารถการเพิ่มข้อมูลสินค้า ความสามารถการ เพิ่มจำนวนสินค้า ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนตัว สามารถสมัครสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบได้ สามารถ สร้าง Username และ Password เพื่อเข้าใช้งานในระบบได้ สามารถตรวจสอบและยืนยันสมาชิกได้ สามารถ ในการแก้ไขข้อมูลประเภทสินค้าได้ สามารถในการแก้ไขข้อมูลสินค้าได้ สามารถในการซื้อสินค้าในระบบได้ แสดงข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ แสดงข้อมูลประเภทสินค้า แสดงข้อมูลสินค้า แสดงรายงานการซื้อขายในแต่ละ วัน เดือน ปี แสดงรายละเอียดของสินค้า แสดงการตัดสต๊อกของสินค้า แสดงข้อมูลของสมาชิกที่ซื้อสินค้าไป การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และการกำหนดสิทธิ์ความปลอดภัยของการ เข้าถึงข้อมูล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
5.บทนำ                ระบบการจัดการคลังสินค้าในปัจจุบัน เป็นระบบที่มีการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode หรือ รหัสสินค้า เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนของ สินค้า และนำข้อมูลบันทึกลงในระบบ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดการในรูปแบบต่างๆ ตามที่เราต้องการ โดยมี การกระทำอยู่ 3 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการรับเข้า กระบวนการจัดเก็บ และกระบวนการจัดส่ง โดยการ ทำงานนั้น จะต้องมีการเข้าไปตรวจสอบความเรียบร้อยของคลังสินค้าในสถานที่จริง ทำให้การทำงานอาจเกิด ความล่าช้าและข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น ณ ปัจจุบันมีเชื้อไวรัส Covid-19 กำลังแพร่ ระบาดอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานอีกด้วย
               เนื่องจากในบางร้านค้าหรือบริษัทที่มีปริมาณสินค้าที่มากเกินไป พบว่าการจัดการคลังสินค้าย่อมมีผลต่อ การทำงานในชีวิตประจำวันของพนักงาน เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาในระบบการ จัดการคลังสินค้าแบบเดิม หรือ ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพมากพอ หรือระบบจัดการคลังสินค้าแบบเดิม ไม่ตอบโจทย์ต่อการจัดการสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น จำนวนสินค้าในปัจจุบันมีความไม่สอดคล้องกับยอดขาย หรือจำนวนสินค้าที่ได้ขายไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดอุปสรรคในการตรวจสอบสินค้าอย่างเลี่ยงไม่ได้และการทำ รายงานสรุปในแต่ละเดือนมีความล่าช้าขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้เวลาในการวางแผนจัดการคลังสินค้าในรอบต่อไปของ ร้านค้าหรือบริษัท เป็นไปได้อย่างยากลำบาก
               ดังนั้น ผู้จัดทำจึงพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อนำระบบไป ประยุกต์ใช้กับการจัดการคลังสินค้าของร้านค้าหรือบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้สินค้า ขาดตกบกพร่อง และสินค้าสูญหายหรือมีความคลาดเคลื่อน เพื่อให้ได้ระบบที่มีคุณภาพสามารถใช้ได้จริง และ มีการทดสอบใช้งานจริงอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาในการจัดการคลังสินค้าของร้านค้าหรือบริษัท เพิ่มความ สะดวกในการตรวจสอบสินค้าและประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น รวมไปถึงการลดความเสี่ยงต่อการติด Covid-19 ของพนักงานที่มาตรวจสอบอีกด้วย
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย 6.1  เพื่อพัฒนาระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ 
6.2  เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ 
7.ขอบเขตของการวิจัย 7.1  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งานระบบ ตัวแทนจำหน่าย และสมาชิกหรือลูกค้า กลุ่ม ตัวอย่างที่นำมาศึกษามี จำนวน 15 คน
7.2  เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา
      ด้านที่ 1 ประสิทธิภาพของระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์
                   (1)  ข้อมูลทั่วไป
                         (1.1)  ข้อมูลส่วนตัว : ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานในระบบของแต่ละคน
                         (1.2)  ข้อมูลการติดต่อ : เป็นข้อมูลที่เอาไว้ใช้ในการติดต่อเช่น เบอร์ติดต่อ , ไอดี LINE , EMail เพื่อนำไปใช้ในการติดต่อเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า
                         (1.3)  ข้อมูลที่อยู่ : ให้ใส่ไว้เพื่อนำไปใช้กับการจัดส่งหลังจากมีการซื้อขายในระบบเกิดขึ้น มี การอธิบายรายละเอียดของสถานที่ใกล้เคียง เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการจัดส่งมากขึ้น (อาจจะมีคำอธิบาย หรือรายละเอียดให้ระบุ)
                         (1.4)  ช่องทางการชำระเงิน : มีหลายช่องทางการชำระเงิน เพื่อสะดวกต่อการซื้อขายในระบบ มากขึ้น
                         (1.5)  ข้อมูลประเภทสินค้า : เพื่อระบุว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น เป็นสินค้าประเภทใด เพื่อให้ ง่ายต่อการค้นหา (อาจจะมีคำอธิบายหรือรูปภาพประกอบ)
                         (1.6)  ข้อมูลสินค้า : ตัวแทนจำหน่ายกรอกข้อมูลเพื่ออธิบายสรรพคุณต่างๆเกี่ยวกับสินค้า รวมถึงประโยชน์ วิธีการใช้งานและวันที่ผลิต วันที่หมดอายุ (อาจจะมีคำอธิบายหรือรูปภาพประกอบ)
                   (2)  ประวัติการซื้อขาย : เพื่อจะได้ตรวจสอบความถูกต้องในรายการซื้อขายว่าข้อมูลต่างๆ ที่ได้ ระบุมานั้น ถูกต้องและเป็นจริง สามารถนำไปใช้อ้างอิงเพิ่มเติมได้ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
                   (3)  รายงานการซื้อขาย : เพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ดูแลสามารถตรวจสอบยอดขายได้ง่ายและ สะดวกขึ้น ซึ่งจะได้ข้อมูลมาจากการซื้อขายที่มีในระบบ โดยดึงออกมาจากฐานข้อมูลแล้วทำการสรุป พร้อมกับ แสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟ
                   (4)  รายงานการตัดสต๊อก : เพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ดูแลทราบถึงจำนวนสินค้า ณ ปัจจุบัน และจำนวนสินค้าที่ถูกตัดออกไป เพื่อการตรวจสอบที่ง่ายและสะดวกขึ้น
                   (5)  รายงานการเพิ่มสินค้า : เพื่อให้ทราบถึงที่มาของสินค้าและจำนวนที่เอาเข้าสต๊อกมาครั้งแรก สิทธิ์การใช้งานในระดับต่างๆ ของระบบ สามารถใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้ดังนี้
                   (6) แอดมินหรือผู้ดูแลระบบ
                         (6.1 ) สามารถตรวจสอบข้อมูลข้อมูลสมาชิกได้
                         (6.2)  สามารถจัดการข้อมูลสมาชิกในแต่ละระดับได้
                         (6.3)  สามารถเช็คหรือดูประวัติการเพิ่มและการตัดสต๊อก เป็นรายวัน รายเดือน และรายปี 3 ​                         (6.4)  ตรวจสอบรายงานต่างๆในระบบได้
                         (6.5)  สามารถจัดการประเภทสินค้าได้
                   (7)  ดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่าย
                         (7.1) สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้
                         (7.2) สามารถจัดการข้อมูลสินค้าในสต๊อกได้
                         (7.3) สามารถดูประวัติการเพิ่มและการตัดสต๊อก เป็นรายวัน รายเดือน และรายปี
                         (7.4) สามารถจัดการข้อมูลการชำระเงินได้
                         (7.5) ตรวจสอบรายงานต่างๆในระบบได้
                   (8) สมาชิกหรือร้านค้า
                         (8.1) ดูสินค้าในระบบทั่วๆไป
                         (8.2) สามารถดูจำนวนสินค้าว่าหมดหรือไม่
                         (8.3) สามารถสั่งซื้อสินค้าในระบบได้
                         (8.4) สามารถดูประวัติการซื้อได้
                         (8.5) สามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินได้
                         (8.6) สามารถกรอกที่อยู่การจัดส่งได้
     ด้านที่ 2 ด้านความพึงพอใจของผู้ดูแลระบบ (จากการทดลองใช้ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์)
     ด้านที่ 3 ด้านความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายหรือสมาชิก (จากการใช้งานระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์)
7.3  ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2565
8.สมมติฐาน สามารถนำจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) ไปใช้จริงได้
9.วิธีดำเนินการวิจัย

การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ดังนี้
          1) วิธีดำเนินโครงการ
          2) วิเคราะห์สภาพปัญหา
          3) ข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรม
          4) การออกแบบนวัตกรรม
          5) การทดสอบระบบ
          6) การออกแบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม
          7) การออกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม
          8) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          9) การเก็บรวบรวมข้อมูล
          10) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ
                    ผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งานระบบ ตัวแทนจำหน่าย และสมาชิกหรือลูกค้า กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษามี จำนวน 15 คน
 
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ  11.1  ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System )
     11.2  แบบประเมินความคิดเห็นของแอดมินและผู้ใช้งาน ที่มีต่อการใช้งาน ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System )
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้าทดสอบการใช้งานที่ใช้ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) ที่สร้างและแบบทดสอบประสิทธิภาพของระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) ได้แก่ ผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งานระบบ ตัวแทนจำหน่าย และสมาชิกหรือลูกค้า กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษามี จำนวน 15 คน

 
12.วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการพัฒนาระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
            P  แทน ร้อยละ
            x̅  แทน ค่าเฉลี่ย
            S.D.  แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
13.ผลของการวิจัย      สรุปผลการวิจัยจากการทดลองใช้ระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อจัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้ากับกลุ่มตัวอย่างได้ผลดังนี้
         1.  พิจารณาความคิดเห็นของ Admin ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
              1.1  ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านระบบเพิ่มข้อมูลสมาชิก ความสามารถด้านการเข้าสู่ระบบ ความสามารถด้านการจัดการบัญชี ความสามารถด้านการบันทึกข้อมูลสินค้า ความสามารถด้านการตรวจสอบคลังสินค้า และความสามารถด้านการยืนยันออเดอร์สินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด
              1.2  ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด ความสามารถด้านการจัดการข้อมูลสมาชิกทั้งหมด ความสามารถด้านการจัดการประเภทคลังสินค้า ความสามารถด้านการจัดการคลังสินค้า ความสามารถด้านการเพิ่มจำนวนสินค้าในคลัง ความสามารถด้านตรวจสอบสถานะออเดอร์สินค้า ความสามารถด้านการส่งสถานะจัดส่ง และความสามารถด้านการตรวจสอบรายงานสรุปยอดขายและจำนวนสินค้าได้ อยู่ในระดับมาก
              1.3  ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านความสะดวกในการใช้งานระบบ ความสามารถด้านสีสันในการออกแบบเว็บแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม ความสามารถด้านความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความสามารถด้านความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม และความสามารถด้านความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
              1.4  ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการคำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ความสามารถด้านการกำหนดสิทธิ์แก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูลของผู้ใช้งานระบบ และความสามารถด้านความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด
         2.  พิจารณาความคิดเห็นของ Dealer ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์  ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
              2.1  ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการระบบสมัครสมาชิก ความสามารถด้านการเข้าสู่ระบบ ความสามารถด้านการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้งาน ความสามารถด้านการตรวจสอบข้อมูลของสมาชิกที่แนะนำ ความสามารถด้านการเพิ่มข้อมูลสมาชิกที่แนะนำ และความสามารถด้านตรวจสอบข้อมูลออเดอร์ของสมาชิกที่แนะนำ อยู่ในระดับมากที่สุด
              2.2  ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานระบบ ความสามารถด้านการจัดการข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งาน ความสามารถด้านการจัดการคลังสินค้า ความสามารถด้านการเพิ่มจำนวนสินค้าในคลัง และความสามารถด้านการจัดการข้อมูลบัญชีของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด
              2.3  ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านความสะดวกในการใช้งานระบบ ความสามารถด้านสีสันในการออกแบบเว็บแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม ความสามารถด้านความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความสามารถด้านความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม ความสามารถด้านความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ และความสามารถด้านความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
              2.4  ด้านความปลอดภัยระบบ  เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการคำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ความสามารถด้านการกำหนดสิทธิ์แก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูลของผู้ใช้งานระบบ และความสามารถด้านความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด
         3.  พิจารณาความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์  ( Online Warehouse Management and Monitoring System ) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
              3.1  ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการระบบสมัครสมาชิก ความสามารถด้านการเข้าสู่ระบบ ความสามารถด้านการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้งาน ความสามารถด้านการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน ความสามารถด้านการติดตามสถานะออเดอร์สินค้า ความสามารถด้านบันทึกการสั่งซื้อสินค้า และความสามารถด้านบันทึกการชำระเงิน อยู่ในระดับมากที่สุด
              3.2  ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานระบบ ความสามารถด้านการจัดการข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งาน ความสามารถด้านการเลือกซื้อสินค้าในตะกร้าสินค้า ความสามารถด้านการสั่งซื้อสินค้าในคลัง ความสามารถด้านการกรอกข้อมูลที่อยู่จัดส่งสินค้า ความสามารถด้านการชำระเงิน และความสามารถด้านการตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด
              3.3  ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านความสะดวกในการใช้งานระบบ ความสามารถด้านสีสันในการออกแบบเว็บแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม ความสามารถด้านความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความสามารถด้านความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม และความสามารถด้านความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
              3.4  ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถด้านการคำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน ความสามารถด้านการกำหนดสิทธิ์แก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูลของผู้ใช้งานระบบ และความสามารถด้านความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมากที่สุด
14.การอภิปรายผล    จากผลการสร้างระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อจัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อจัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า คือ ความสามารถการเพิ่มข้อมูลสมาชิก ความสามารถการเพิ่มข้อมูลประเภทสินค้า ความสามารถการเพิ่มข้อมูลสินค้า ความสามารถการเพิ่มจำนวนสินค้า ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนตัว สามารถสมัครสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบได้ สามารถสร้าง Username และ Password เพื่อเข้าใช้งานในระบบได้ สามารถตรวจสอบและยืนยันสมาชิกได้ สามารถในการแก้ไขข้อมูลประเภทสินค้าได้ สามารถในการแก้ไขข้อมูลสินค้าได้ สามารถในการซื้อสินค้าในระบบได้ แสดงข้อมูลผู้ใช้งานในระบบ แสดงข้อมูลประเภทสินค้า แสดงข้อมูลสินค้า แสดงรายงานการซื้อขายในแต่ละ วัน เดือน ปี แสดงรายละเอียดของสินค้า แสดงการตัดสต๊อกของสินค้า แสดงข้อมูลของสมาชิกที่ซื้อสินค้าไป การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และการกำหนดสิทธิ์ความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
         เราสามารถจัดการสินค้าและตรวจสอบสินค้าได้โดยการเพิ่มจำนวนสินค้า และระบุจำนวนสินค้าให้ถูกต้อง หลังจากลูกค้ากดซื้อสินค้าแล้วนั้น สินค้าจะตัดสต๊อกตามจำนวนสินค้าชิ้นนั้นๆ ที่ลูกค้าซื้อไป และตรวจสอบออเดอร์การรอชำระเงิน เมื่อชำระเงินเสร็จสิ้นจึงสามารถจัดส่งสินค้าและบอกหมายเลขพัสดุ EMS ให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปได้ และสามารถดูรายงานการซื้อสินค้าได้ ส่วนดีลเลอร์สามารถยืนยันสมาชิกที่สมัครเข้ามาเป็นลูกทีมได้ สามารถตรวจสอบออเดอร์ และตรวจสอบข้อมูลสมาชิกได้ ส่วนสมาชิกสามารถซื้อสินค้าไปขายต่อ หรือเอาไปใช้ และสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้
15.ข้อเสนอแนะ   16.1  ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
           ควรมีการใช้ประโยชน์จากระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบจัดการและตรวจสอบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อจัดการคลังสินค้าในบริษัท สำหรับตัวแทนจำหน่ายสินค้า ที่พัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรใช้ในการจัดการคลังสินค้า และการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของบริษัท ตัวแทนจำหน่าย และผู้ใช้งานแต่ละคนในครั้งถัดไป เพื่อสามารถตรวจสอบสินค้า และลดปัญหาในการตกหล่นของจำนวนสินค้าในคลังสินค้า

16.2  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
        1) ควรปรับปรุงการใช้งานในระบบให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น
        2) ควรปรับปรุงการชำระเงินในระบบให้ง่ายมากขึ้น
        3) ควรเพิ่มการแจ้งเตือนเพื่อตรวจสอบสินค้าและผู้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้น 
        4) ควรเพิ่มระบบการพิมพ์รายงานการซื้อสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานในการซื้อสินค้าได้
16.บรรณานุกรม การทำคลังสินค้าออนไลน์ที่ดี(2564) เข้าได้ถึงจาก https://www.mycloudfulfillment.com/warehouse-online/ (สืบค้นเมื่อวานที่ 10 เมษายน 2565) การสร้างฐานข้อมูล mysql(2565) เข้าได้ถึงจาก https://www.mysql.com/ (สืบค้นเมื่อวานที่ 23 เมษายน 2565)
พัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย PHP(2554-2565) เข้าได้ถึงจาก https://www.w3schools.com/php/ (สืบค้นเมื่อวานที่ 20 เมษายน 2565)
17.ประวัติผู้จัดทำ                                                                
 
                                           ชื่อ-นามสกุล      นาย พลพัต ทรวงหิรัญ
                                           เกิดเมื่อวันที่      14 กันยายน 2545
                                           ที่อยู่ปัจจุบัน      295 หมู่ 1 ต.ทุ่งกวาว อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000
                                           วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตร
                                           วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                                           สาขางาน คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
                                           รหัสนักศึกษา     64301280005
                                           เบอร์โทร          0957753259
                                           อีเมล              PhonlapatS.2002@gmail.com


                                                                
 
                                           ชื่อ-นามสกุล      นางสาว พอฤทัย ชมภูมิ่ง
                                           เกิดเมื่อวันที่      22 ตุลาคม 2545
                                           ที่อยู่ปัจจุบัน      23/2 ถ.ราษฎร์ดำเนิน ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000
                                           วุฒิการศึกษา     ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตร
                                           วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                                           สาขางาน คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
                                           รหัสนักศึกษา     64301280021
                                           เบอร์โทร          061-116-9369
                                           อีเมล              poruthai2002@hotmail.com
 
18.ลิงค์ยูทูป