ระบบเว็บไซต์แบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนรายวิชาโครงการ 1-2 ออนไลน์
Website Learning Exercises for Learning Skills in Project Curriculum 1-2
ออกแบบและพัฒนาระบบ โดย ครูแดงต้อย คนธรรพ์
 
ชื่อผู้ใช้  
จำรหัสผ่าน
 
 

 

 

บทความโครงการนักศึกษา

 

 

1.ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย (Real Estate Management System)
2.จัดทำโดย นาย นราธิป ทาคำ
นาย วิทวัส ภิระบรรณ์
3.อีเมลล์ withawat1201@gmail.com
4.บทคัดย่อ ชื่อ                : นราธิป ทาคำ   นายวิทวัส ภิระบรรณ์
ชื่อเรื่อง           : การพัฒนาระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  สำหรับการขาย (Real Estate Management System)
สาขาวิชา         : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
สาขางาน         : คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
ที่ปรึกษา         : แดงต้อย คนธรรพ์
ปีการศึกษา       : 2565
                                                                                                           บทคัดย่อ
                  การทำโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนา ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย (Real Estate Management System) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของ ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย ผู้จัดทำโครงการจึงได้พัฒนาระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์สำหรับการดูแลงานขายเพื่อเพิ่มการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และการจัดการใน ส่วนของ SEO (Search engine optimization) หรือการเข้าถึงของลูกค้าเพื่อนำไปต่อยอดในส่วนของ การตลาดเพิ่มเติมได้
                  จากผลการสร้างระบบและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น  4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ 4) ด้าน ความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์คือ ความสะดวกในการใช้งานที่มีต่อ ผู้ใช้งาน และตัวแทนจำหน่าย ความสามารถการเข้าสู่ระบบ ความสามารถในการเพิ่มประเภทของโครงการ และแก้ไขได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการ ความสามารถในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก ความสามารถในการแสดงข้อมูลสมาชิกทั้งหมดได้ ความสามารถในการจัดการแก้ไขหน้าตาของเว็บไซต์ภายใน ระบบได้ ความสามารถในการเพิ่มบทความและข่าวสารภายในระบบได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูล โครงการในระบบหน้าบ้านอย่างเป็นระเบียบ ความสามารถในการแบ่งประเภทของโครงการ ความถูกต้องใน การเข้าสู่ระบบ ความถูกต้องในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลสมาชิกในระบบ ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ การบันทึกข้อมูล การใช้งานต่างๆในระบบไว้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
 
5.บทนำ            เนื่องจากระบบบริหารจัดการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันนี้ ในหลายๆบริษัทยังใช้การจัดการข้อมูลของลูกค้าผ่านทางโปรแกรม Excel หรือจัดการผ่านทางเอกสารที่จับต้องได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดทางข้อมูลและอาจศูนย์หายได้ และเอกสารนั้นๆยังเป็นแบบออฟไลน์ ไม่สามารถแบ่งปันการเข้าถึงของเอกสารได้ทำให้การแบ่งปันข้อมูลภายในบริษัทนั้นไม่สะดวกและไม่หยืดหยุ่นมากพอ
           ซึ่งระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ จะเป็นระบบที่สามารถจัดการดูแลข้อมูลการขายได้อย่างทั่วถึง โดยเริ่มตั้งแต่การขายในหน้าบ้าน ไปจนถึงการจัดการข้อมูลภายในหลังบ้าน อำนวยความสะดวกต่อพนักงาน ลดข้อผิดพลาดทางข้อมูล และจัดการการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์สำหรับการดูแลงานขายเพื่อเพิ่มการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ เช่น การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีระเบียบ การจัดการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และการจัดการในส่วนของ SEO (Search engine optimization) การเข้าถึงของลูกค้าเพื่อนำไปต่อยอดในการตลาดเพิ่มเติมได้
 
6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย            6.1 เพื่อพัฒนา ระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย (Real Estate Management System)
           6.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย (Real Estate Management System)
 
7.ขอบเขตของการวิจัย               7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ
                   1) ประชากร คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการอสังหา ครูและนักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                   2)  กลุ่มตัวอย่าง คือ
                       กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่ 1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการอสังหา ครูแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คนแอดมิน โดยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ
                        กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่ 2 นักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของระบบ
             7.2 เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา
                   ด้านที่ 1 ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์
                   (1)   ข้อมูลทั่วไป
                         (1.1)   ข้อมูลส่วนตัว : ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานในระบบของแต่ละคน
                         (1.2)  ข้อมูลการติดต่อ : เป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับการติดต่อ เช่น ชื่อ นามสกุล หัวเรื่อง เรื่อง อีเมล เบอร์โทรติดต่อ ไอดี LINE ช่วงเวลาที่สะดวก เพื่อให้พนักงานติดต่อกลับไปแจ้งรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม
                         (1.3)  ข้อมูลโครงการ : แอดมินผู้ดูแลระบบ หรือผู้จัดการ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลโครงการ เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการผ่านทางหน้าเว็บ
                   (2) ข้อมูลโครงการ : เพื่อนำเสนอข้อมูลของโครงการให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย สามารถจัดเก็บเพื่อ ประกอบการตัดสินใจ และสามารถดำเนินการติดต่อสนใจโครงการ
                   (3) รายงานความสนใจของลูกค้า : สรุปยอดต่างๆ เช่น โครงการที่ลูกค้าส่วนมากสนใจ การเข้าดูของโครงการนั้นๆ เพื่อที่จะสามารถนำไปวางแผนต่อยอดสำหรับการขายได้ ซึ่งจะได้ข้อมูลมาจากยอดการดูโครงการนั้น การบันทึกโครงการของลูกค้า โดยจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของแดชบอร์ด
                   (4) แบบฟอร์ม : เพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน้าบ้านและหลังบ้าน เช่น แบบฟอร์มของลูกค้าที่สนใจโครงการ แบบฟอร์มที่ใช้ดำเนินการสำหรับงานขายในหลังบ้าน เป็นต้น เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
                    (5)   แอดมินผู้ดูแลระบบ หรือผู้จัดการ
                          (5.1) สามารถ ดู เพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูลของสมาชิกทั้งหมดภายในระบบได้
                          (5.2) สามารถ ดู เพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูลโครงการต่างๆได้
                          (5.3) สามารถแก้ไขส่วนต่างๆของเว็บไซต์ได้
                          (5.4) สามารถตรวจสอบรายงานต่างๆในระบบได้
                          (5.5) สามารถจัดการแบบฟอร์มต่างๆที่รับมาจากหน้าบ้านได้
                          (5.6) สามารถแจกจ่ายการดูแลลูกค้าให้พนักงานได้
                          (5.7) สามารถดูข้อมูลการดำเนินการต่างๆของพนักงานและลูกค้าได้
 
                     (6)  พนักงานฝ่ายขาย
                           (6.1) สามารถตรวจสอบรายงานต่างๆในระบบได้
                           (6.2) สามารถดูแบบฟอร์มต่างๆที่รับมาจากหน้าบ้านได้
                           (6.3) สามารถดำเนินการจัดการข้อมูลโครงการสำหรับการขายได้
                     (7)  ลูกค้า
                           (7.1) สามารถดูรายละเอียดข้อมูลโครงการต่างๆได้
                           (7.2) สามารถกรอกข้อมูลแบบฟอร์มได้
                           (7.3) สามารถจัดเก็บโครงการที่สนใจได้
                     ด้านที่ 2 ด้านความพึงพอใจของผู้ดูแลระบบ และผู้จัดการ (จากการทดลองใช้ระบบ บริหารจัดการอสังหาทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย )
                     ด้านที่ 3 ด้านความพึงพอใจของพนักงานฝ่ายขาย (จากการใช้งานระบบ บริหารจัดการอสังหาทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย)
                     ด้านที่ 4 ด้านความพึงพอใจของลูกค้า (จากการใช้งานระบบ บริหารจัดการอสังหาทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับงานขาย)
              7.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2565
 
8.สมมติฐาน สามารถนำงระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System) ไปใช้จริงได้
9.วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System) ขั้นตอนการออกแบบ โดยรายละเอียด ดังแสดงเป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ดังนี้
          1) วิธีดำเนินโครงการ
          2) วิเคราะห์สภาพปัญหา
          3) ข้อกำหนดเกี่ยวกับความต้องการของนวัตกรรม
          4) การออกแบบนวัตกรรม
          5) การทดสอบระบบ
          6) การออกแบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม
          7) การออกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม
          8) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          9) การเก็บรวบรวมข้อมูล
          10) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
9.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ                    (1) กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่ 1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการอสังหา ครูแผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คนแอดมิน โดยใช้แบบประเมิน                    (2) กลุ่มตัวอย่างเป้าหมายที่ 2 นักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของระบบ
10.สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ 11.1  ระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System)
11.2  แบบประเมินความคิดเห็นของแอดมินและผู้ใช้งาน ที่มีต่อการใช้งาน ระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System)
11.ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้าทดสอบการใช้งานที่ใช้ระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System) ที่สร้างและแบบทดสอบประสิทธิภาพขอระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ระบบบริหารจัดการอสังหาทรัพย์ (Real Estate Management System) ได้แก่ ผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งานระบบ ตัวแทนจำหน่าย และสมาชิกหรือลูกค้า กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษามี จำนวน 15 คน
12.วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการพัฒนาระบบ คณะผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย มีการวิเคราะห์และค่าสถิติ ดังนี้
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
            P  แทน ร้อยละ
            x̅  แทน ค่าเฉลี่ย
            S.D.  แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
13.ผลของการวิจัย สรุปผลการวิจัยจากการทดลองใช้ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย กับกลุ่มตัวอย่างได้ผลดังนี้
             1. พิจารณาความคิดเห็นของ Admin ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์   (Real Estate Management System) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
                  1.1 ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถการเข้าสู่ระบบ ความสามารถการแก้ไข และเพิ่มข้อมูลส่วนตัว สามารถอัพเดทได้ ตลอดเวลา ความสามารถในการเพิ่มประเภทของโครงการและแก้ไขได้ ความสามารถในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขโครงการได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการ ความสามารถในการเพิ่ม ลบ และแก้ไข แบบฟอร์มได้ ความสามารถในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก ความสามารถในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขสมาชิกได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูลสมาชิกทั้งหมดได้ ความสามารถในการจัดการแก้ไขหน้าตาของเว็บไซต์ภายในระบบได้ ความสามารถในการคำนวณแบบฟอร์มที่ได้รับให้แสดงออกมาในเชิงสถิติได้ ความสามารถในการจัดการเสิร์จเอนจินภายในระบบได้ ความสามารถในการเพิ่มบทความและข่าวสารภายในระบบได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
                  1.2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการในระบบหน้าบ้านอย่างเป็นระเบียบ ความสามารถในการเพิ่มและแก้ไขข้อมูลของโครงการแต่ละโครงการ  ความสามารถในการแบ่งประเภทของโครงการ ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนตัว ความถูกต้องในการส่งต่อข้อมูลแบบฟอร์มและข้อมูลลูกค้า ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ ความถูกต้องในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลสามาชิกในระบบ ตวามถูกต้องในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขแบบฟอร์ม ความถูกต้องในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลโครงการ ความถูกต้องในการเพิ่ม ลบ แก้ไข ประเภทต่างๆภายในระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด
                  1.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสะดวกในการใช้งานระบบ การเลือกใช้สีสันและการออกแบบเว็บไซต์มีความเหมาะสม ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
                  1.4 ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ การควบคุมการใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ การบันทึกข้อมูลการใช้งานต่างๆในระบบไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด
             2. พิจารณาความคิดเห็นของ Agent ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์   (Real Estate Management System) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
                  2.1 ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถในการสมัครเข้าใช้งานระบบได้ ความสามารถในการเข้าสู่ระบบ ความสามารถการแก้ไข และเพิ่มข้อมูลส่วนตัว สามารถอัพเดทได้ ตลอดเวลา ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการ ความสามารถในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขโครงการความสามารถในการแยกประเภทของโครงการ ความสามารถในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก ความสามารถในการแสดงข้อมูลของแบบฟอร์มที่ลูกค้าส่งมา ความสามาถในการแสดงความความคิดเห็นที่ได้รับจากลูกค้า อยู่ในระดับมาก
                  2.2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความถูกต้องในการสมัครเข้าใช้งานระบบ ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ ความถูกต้องในการจัดการข้อมูลส่วนตัว ความถูกต้องในการแสดงข้อมูลของโครงการ ความถูกต้องในการคัดแยกประเภทของโครงการ ความถูกต้องของข้อมูลโครงการที่ให้กรอก ความถูกต้องในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก ความถูกต้องในการแสดงความคิดเห็นจากลูกค้า อยู่ในระดับมาก
                  2.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสะดวกในการใช้งานระบบ การเลือกใช้สีสันและการออกแบบเว็บไซต์มีความเหมาะสม ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
                  2.4 ด้านความปลอดภัยระบบ  เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ การควบคุมการใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก
             3. พิจารณาความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์   (Real Estate Management System) มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นการทดสอบ 4 ด้าน ดังนี้
                  3.1 ด้านความต้องการของผู้ใช้งานระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสามารถสมัครเข้าใช้งานระบบได้ ความสามารถการเข้าสู่ระบบ ความสามารถการแก้ไข และเพิ่มข้อมูลส่วนตัว สามารถอัพเดทได้ ตลอดเวลา ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการ ความสามารถในการแยกประเภทของโครงการ ความสามารถในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก อยู่ในระดับมาก
                  3.2 ด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความถูกต้องในการสมัครเข้าใช้งานระบบ ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ ความถูกต้องในการจัดการข้อมูลส่วนตัว ความถูกต้องในการแสดงข้อมูลของโครงการ ความถูกต้องในการคัดแยกประเภทของโครงการ ความถูกต้องในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก อยู่ในระดับมาก
                  3.3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า ความสะดวกในการใช้งานระบบ การเลือกใช้สีสันและการออกแบบเว็บไซต์มีความเหมาะสม ความถูกต้องของเนื้อหาที่แสดง ความเหมาะสมในการออกแบบหน้าจอโดยภาพรวม ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
                  3.4 ด้านความปลอดภัยระบบ เมื่อพิจารณาประเด็นพบว่า การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ การควบคุมการใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้อย่างถูกต้อง การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก
 
14.การอภิปรายผล จากผลการสร้างระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย สามารถทำงานได้จริงตามที่ออกแบบ แบ่งการทดสอบเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการนำเข้าข้อมูลระบบ 2) ด้านการประมวลผล 3) ด้านการรายงานข้อมูลระบบ 4) ด้านความปลอดภัยระบบ โดยจุดเด่นของระบบพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย คือ ความสามารถการเข้าสู่ระบบ ความสามารถในการเพิ่มประเภทของโครงการและแก้ไขได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการ ความสามารถในการแสดงแบบฟอร์มให้กรอก ความสามารถในการแสดงข้อมูลสมาชิกทั้งหมดได้ ความสามารถในการจัดการแก้ไขหน้าตาของเว็บไซต์ภายในระบบได้ ความสามารถในการเพิ่มบทความและข่าวสารภายในระบบได้ ความสามารถในการแสดงข้อมูลโครงการในระบบหน้าบ้านอย่างเป็นระเบียบ ความสามารถในการแบ่งประเภทของโครงการ ความถูกต้องในการเข้าสู่ระบบ ความถูกต้องในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลสามาชิกในระบบ ความน่าใช้ของระบบในภาพรวม การตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ การเปลี่ยนรหัสผ่านโดยผู้ใช้ระบบ การบันทึกข้อมูลการใช้งานต่างๆในระบบไว้  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
     ระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ สำหรับการขายนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ผู้ใช้งานก็คือ แอดมิน พนักงานขาย และลูกค้า โดยมีแอดมินเป็นผู้มีสิทธิ์สูงสุด ผู้ใช้งานในลำดับต่อมาก็คือพนักงานขาย สามารถสมัครทางหน้าเว็บไซต์ได้โดยจะต้องได้รับการยืนยันจากแอดมินก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ แอดมินและพนักงานขายนั้นสามารถจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้โดยการเพิ่มประเภท และสร้างโครงการ เพิ่มรายละเอียดโครงการ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นก็สามารถเผยแพร่โครงการนั้นสู่สาธารณะได้ และเมื่อเผยแพร่เสร็จลูกค้าจะสามารถเข้าชมโครงการนั้นและกรอกแบบฟอร์สนใจโครงการได้ โดยลูกค้าสามารถสมัครเป็นสมาชิกระบบเพื่อใช้ฟังก์ชั่นเพิ่มเติม เช่น เปรียบเทียบโครงการ หรือเก็บโครงการนั้นเป็นโครงการที่ชอบได้ และเมื่อกรอกแบบฟอร์มสนใจโครงการนั้นแล้วพนักงานขายจะติดต่อดำเนินการ และอัปเดตสถานะของโครงการนั้นในระบบหลังบ้านจนจบการดำเนินการขายนั้นๆ
 
15.ข้อเสนอแนะ      16.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
              ควรมีการใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สำหรับการขาย ที่พัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรใช้ในการจัดการข้อมูลโครงการและข้อมูลลูกค้า และการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของบริษัท พนักงานฝ่ายขาย และผู้ใช้งานแต่ละคนในครั้งถัดไป เพื่อสามารถเลือกโครงการที่สนใจได้ และลดปัญหาในการตกหล่นของข้อมูลโครงการและลูกค้า

     16.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
              1) ควรปรับปรุงการใช้งานในระบบให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น
              2) ควรปรับปรุงการให้มีความสวยงามและน่าใช้งานมากขึ้น
              3) ควรเพิ่มการแบ่งสถานะของลูกค้าเพื่อความสะดวกของพนักงานฝ่ายขายมากขึ้น
16.บรรณานุกรม การศึกษาสภาพการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทย (2538 – 2557) เข้าถึงได้จาก http://www.profile.rmutt.ac.th/index.php/business/article/view/1493/982
(สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565)
การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ (2561) เข้าถึงได้จากhttp://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3027 (สืบค้นเมื่อ  23 เมษายน 2565)
WordPress คือ อะไร ทำไมธุรกิจถึงต้องมีเว็บไซต์ ? (2565) เข้าถึงได้จากhttps://goonlinethailand.com/blog/online-marketing/wordpress  (สืบค้นเมื่อ  23 เมษายน 2565)
WordPress plugin คืออะไร (2565) เข้าถึงได้จาก https://santumweb.com/wordpress-plugin (สืบค้นเมื่อ  23 เมษายน)
Essential Real Estate คือ (2560-2566) เข้าถึงได้จากhttps://wordpress.org/plugins/essential-real-estate/ (สืบค้นเมื่อ  23 เมษายน 2565)
JSON คืออะไร (2558) เข้าถึงได้จาก https://saixiii.com/what-is-json/  (สืบค้นเมื่อ  23 เมษายน)
การสร้างฐานข้อมูล MySQL (2565) เข้าได้ถึงจาก https://www.mysql.com/ (สืบค้นเมื่อวานที่ 23 เมษายน 2565)
 
17.ประวัติผู้จัดทำ              
ชื่อ-สกุล                    นาย นราธิป ทาคำ
วัน เดือน ปี                9 ตุลคม 2545
กำลังศึกษาอยู่           สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่
ที่อยู่ปัจจุบัน              169 หมู่ 1 ต.นาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ 54160
วุฒิการศึกษา             ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
                                สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                                สาขางาน คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
รหัสนักศึกษา             64301280001
เบอร์โทร                    0924617473
อีเมล                         narathip2002@outlook.co.th

           
ชื่อ-สกุล                    นาย วิทวัส ภิระบรรณ์
วัน เดือน ปี                22 พฤษภาคม 2546
กำลังศึกษาอยู่           สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่
ที่อยู่ปัจจุบัน               123/1 บ้านวังเลียง หมู่7 ต.ทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ 54150
วุฒิการศึกษา              ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)
                                 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                                 สาขางาน คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
รหัสนักศึกษา              64301280004
เบอร์โทร                     0842299742
อีเมล                          withawat1201@gmail.com
 
18.ลิงค์ยูทูป